IC Customer Support (66) 0 2666 9449 (20 คู่สาย) l csu@ic.or.th l กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน 098 553 0447 (นอกเวลาทำการ)
สำหรับบริษัทที่ต้องการยกเลิกงานสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร(คำร้องเดิม) ทุกประเภทงาน เนื่องจากพบข้อผิดพลาดในการระบุข้อมูลลงไปในระบบ เช่น ระบุเลขที่อินวอยซ์ผิด วันที่ออกอินวอยซ์ผิด ลำดับที่รายการในอินวอยซ์/ใบขนผิด เป็นต้น หรือไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ตามหนังสืออนุมัติงานเครื่องจักรทุกประเภทงานที่บริษัทได้ยื่นขออนุมัติไว้ เช่น บริษัทได้ขออนุญาตใชธนาคารค้ำประกันเครื่องจักรไว้ แต่เครื่องจักรนั้นบริษัทได้เสียภาษีเข้ามาแทนแล้ว หรือ บริษัทได้ขออนุญาตส่งคืนเครื่องจักรออกไปต่างประเทศ แต่เปลี่ยนใจไม่ส่ง เป็นต้น ทั้งนี้ระบบ eMT Online จะยกเลิกตามคำร้องขอของบริษัท เพื่อแจ้งกรมศุลกากรให้ยกเลิกงานเดิมของบริษัทได้ โดยกำหนดประเภทการยกเลิกออกเป็น 2 กรณีดังนี้
1. กรณีบริษัทขอยกเลิก งานก่อนเดินพิธีการ (สั่งปล่อยแบบปกติ/ใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร/สั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักร
ที่ส่งออกไปซ่อม) จะไม่มีหนังสือยกเลิกออกจากระบบ
1.1 บริษัทเตรียมข้อมูลที่ประเภทคำร้องขอยกเลิกผ่านระบบ eMT Online โดยระบุข้อมูลตามรูปแบบของระบบแล้วส่งคำร้อง
เข้าระบบ
1.2 บริษัทยื่นคำร้องเข้าระบบ eMT Online โดยระบบจะออกเลขที่อนุมัติยกเลิก (เลขที่ อก จำนวน 19 หลัก เช่น
อก0907M561000000001) รวมทั้งส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (XML) ให้กับกรมศุลกากรเพื่อยกเลิกคำร้องงานก่อนเดิน
พิธีการชุดเดิมไปพร้อมกัน
1.3 การยกเลิกจะมีผลสมบูรณ์ถ้าคำร้องงานก่อนเดินพิธีการนั้นยังไม่ได้ถูกใช้ในการผ่านพิธีการตรวจปล่อยสินค้ากับศุลกากร
ถ้าถูกใช้ในการผ่านพิธีการตรวจปล่อยสินค้าแล้วจะไม่สามารถทำการยกเลิกได้
2. กรณีบริษัทขอยกเลิก งานหลังเดินพิธีการ (สั่งปล่อยแบบคืนอากร/งานถอนการใชธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร/
งานขยายเวลาค้ำประกันเครื่องจักร/งานส่งคืน-ส่งซ่อมเครื่องจักรไปต่างประเทศ) มีหนังสือยกเลิกออกจากระบบ
2.1 บริษัทเตรียมข้อมูลที่ประเภทคำร้องขอยกเลิกผ่านระบบ eMT Online โดยระบุข้อมูลตามรูปแบบของระบบแล้วส่งคำร้อง
เข้าระบบ
2.2 พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสือขอยกเลิก และรายงานออกจากระบบ เสนอ
เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
2.3 เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสือขอยกเลิก
2.4 พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสือขอยกเลิกผ่านระบบกลับไปให้บริษัท
2.5 พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสือขอยกเลิก ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้ในการยกเลิกกับกรมศุลกากรต่อไป
สำหรับบริษัทที่นำเข้าเครื่องจักรมาโดยการชำระอากรขาเข้าแบบสงวนสิทธิ์ หรือขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร
ซึ่งถ้าบริษัทไม่ประสงค์จะขอใช้สิทธิ์ในการขอคืนอากรหรือถอนการใช้ธนาคารค้ำประกัน เนื่องด้วยเหตุผลใดๆก็ตามสามารถที่จะ
ขอให้สำนักงานออกหนังสือเรียกเก็บอากร เพื่อแจ้งกรมศุลกากรให้เรียกเก็บอากรกับบริษัทได้
กรณีบริษัทขอชำระภาษีอากร (เสียภาษีสงวนสิทธิ์นำเครื่องจักรเข้ามา/ใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักรเข้ามา)
1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ประเภทคำร้องขอชำระภาษีอากรระบบ eMT Online โดยระบุข้อมูลตามรูปแบบของระบบหรือเลือก
จากงานขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันแล้วส่งคำร้องเข้าระบบ
2. พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสือขอให้เรียกเก็บอากร และรายงานออกจากระบบ
เสนอเจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
3. เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสือขอให้เรียกเก็บอากรบริษัท
4. พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสือขอให้เรียกเก็บอากรบริษัท ผ่านระบบกลับไปให้บริษัท
5. พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสือขอให้เรียกเก็บอากรบริษัท ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้ในการชำระอากรขาเข้ากับ
กรมศุลกากรต่อไป
งานส่งเครื่องจักรออกไปต่างประเทศนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากบริษัทมีความจำเป็นต้องส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมแซม หรือส่งคืนเนื่องจากมีปัญหา โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
1. เครื่องจักรที่ขออนุญาต ต้องได้รับอนุมัติสั่งปล่อยหรือสั่งปล่อยถอนค้ำประกันจากสำนักงานแล้ว
2. ในกรณีส่งเครื่องจักรกลับคืนไปต่างประเทศ ต้องไม่มีผลกระทบต่อกำลังการผลิตและกรรมวิธีการผลิตเว้นแต่กรณีที่บริษัทฯได้
แจ้งขอยกเลิกโครงการ
ขั้นตอนการดำเนินงานการส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน/ส่งซ่อม)
1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการขออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ(ส่งคืน/ส่งซ่อม) เพื่อกรอกข้อมูลในระบบ eMT Online
เมื่อกรอกข้อมูลในระบบเรียบร้อยแล้วให้ส่งคำร้องผ่านระบบ
2. พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ
(ส่งคืน/ส่งซ่อม) และรายงานออกจากระบบ เสนอเจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
3. เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสือหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน/ส่งซ่อม)
4. พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสือหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน/ส่งซ่อม)
ผ่านระบบกลับไปให้บริษัท
5. พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน/ส่งซ่อม)ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้
ในการส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศที่กรมศุลกากรต่อไป
6. บริษัทกรอกข้อมูลเพื่อยืนยันการส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศผ่านระบบ eMT Online สำหรับงานส่งคืนต้องระบุข้อมูล
เลขที่ใบขนขาออก/ลงวันที่ ลงในระบบเพิ่มเติม
งานเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมเป็นส่งคืน
งานส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมแซมต่างประเทศ เพื่อให้เครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายสามารถใช้งานได้ดังเดิม แต่ถ้าเครื่องดังกล่าวไม่สามารถซ่อมแซมได้ เช่น เป็นเครื่องเก่าที่ตกรุ่น ล้าสมัย ไม่มีอะไหล่เปลี่ยน ทดแทน เป็นต้น ก็ไม่จำเป็นต้องนำเครื่องจักรนั้นกลับเข้ามาอีก สามารถเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมให้กลายเป็นส่งคืนได้
ขั้นตอนการดำเนินงานการเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมเป็นส่งคืน
1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ประเภทคำร้องขอเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมเป็นส่งคืนในระบบ eMT Online โดยเลือกจากคำร้องส่งซ่อม
ที่ต้องการเปลี่ยนสถานะเป็นส่งคืนแล้วส่งคำร้องเข้าระบบ
2. พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน) และ
รายงานออกจากระบบ เสนอเจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
3. เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสือหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน)
4. พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสือหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน) ผ่านระบบกลับไปให้บริษัท
5. พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน)ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานว่า
ได้มีการเปลี่ยนสถานะการส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศจากส่งซ่อมให้เป็นส่งคืน และเพื่อใช้ในการขอตัดบัญชีเครื่องจักรต่อไป
1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรแบบ คืนอากร/ถอนค้ำประกันเครื่องจักร/คืนอากร
(นำกลับจากส่งซ่อม)
เพื่อกรอกข้อมูลในระบบ eMT Online (1 คำร้อง/อินวอยซ์)
1.1 ใบกำกับสินค้า (Invoice) ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลดังนี้
- เลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice No.)
- วันที่ออกใบกำกับสินค้า (Invoice Date)
- ชื่อรายการเครื่องจักร / Spec / จำนวน / หน่วย
- มูลค่าการนำเข้า / สกุลเงิน
1.2 วันที่นำเข้าเครื่องจักร (ต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาสิทธิ์)
1.3 ด่านศุลกากรที่นำเข้า (ด่านศุลกากรปลายทางที่ตรวจปล่อยสินค้า)
1.4 ประเทศที่นำเข้า
1.5 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (1 หน่วยสกุลเงินต่างประเทศ = มูลค่าสกุลเงินบาท)
1.6 ลำดับรายการในอินวอยซ์ ลำดับรายการในใบขน
1.7 ใบขนสินค้าขาเข้า (เลขที่ใบขนจำนวน 14 หลัก กรณีเป็นการสั่งปล่อยแบบคืนอากร)
เมื่อดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ส่งคำร้องเข้าระบบ
1. พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร/ถอนค้ำประกัน
เครื่องจักร(กรณีถอนค้ำไม่เต็มจำนวนจะพิมพ์หนังสือเรียกเก็บอากรเพิ่มเติม) / คืนอากร(นำกลับจากส่งซ่อม) และรายงาน
ออกจากระบบ เสนอเจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
2. เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร/ถอนค้ำประกันเครื่องจักร/คืนอากร(นำกลับจากส่งซ่อม)
3. พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร/ถอนค้ำประกันเครื่องจักร/คืนอากร(นำกลับ
จากส่งซ่อม) ผ่านระบบกลับไปให้บริษัท(.PDF) และส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (XML) ให้กับกรมศุลกากรตามลำดับ
4. พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร/ถอนค้ำประกันเครื่องจักร/คืนอากร(นำกลับจากส่งซ่อม)
ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้ในการคืนอากร/ถอนการใช้ธนาคารค้ำประกัน/คืนอากร(นำกลับจากส่งซ่อม) ที่กรมศุลกากรต่อไป
1. การอนุมัติให้ลดหย่อน หรือ ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับ เครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งยังไม่ได้ ผ่านพิธีการทางศุลกากร
หรือผ่านพิธีการทางศุลกากรโดยได้มีการชำระภาษีอากรขาเข้าแบบสงวนสิทธิ์ไว้
2. การอนุมัติการถอนใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระอากรขาเข้า
ขั้นตอนการดำเนินงานการขออนุมัติสั่งปล่อยก่อนเดินพิธีการ
1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรเพื่อกรอกข้อมูลในระบบ eMT Online (1 คำร้อง/อินวอยซ์)
1.1 ใบกำกับสินค้า (Invoice) ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลดังนี้
- เลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice No.)
- วันที่ออกใบกำกับสินค้า (Invoice Date)
- ชื่อรายการเครื่องจักร / Spec / จำนวน / หน่วย
- มูลค่าการนำเข้า / สกุลเงิน
1.2 วันที่นำเข้าเครื่องจักร (ต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาสิทธิ์)
1.3 ด่านศุลกากรที่นำเข้า (ด่านศุลกากรปลายทางที่ตรวจปล่อยสินค้า)
1.4 ประเทศที่นำเข้า
1.5 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (1 หน่วยสกุลเงินต่างประเทศ = มูลค่าสกุลเงินบาท)
1.6 ลำดับรายการในอินวอยซ์ ลำดับรายการในใบขน
2. บริษัทยื่นคำร้องเข้าระบบ eMT Online โดยระบบจะออกเลขที่อนุมัติ (เลขที่ อก จำนวน 19 หลัก
เช่น อก0907M561000000002) รวมทั้งส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (XML) ให้กับกรมศุลกากรไปพร้อมกัน
3. บริษัทส่งข้อมูลเลขที่อนุมัติให้กับบริษัทตัวแทนออกของ (Shipping) เพื่อดำเนินการจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า
สำหรับใช้ผ่านพิธีการเคลียร์ของกับกรมศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่นำเข้า
กรณีที่ 1 บริษัทได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมแล้ว แต่บัตรส่งเสริมยังไม่ออกในกรณีนี้สำนักงานฯ
จะอนุญาตให้ใช้ธนาคารค้ำประกันได้ก็ต่อเมื่อบริษัทได้ตอบรับมติ แล้วเท่านั้น
กรณีที่ 2 บัตรส่งเสริมออกแล้ว แต่บัญชีรายการเครื่องจักรยังไม่แล้วเสร็จ หรืออยู่ระหว่างการแก้ไขหรือปัญหาอื่นๆ
เกี่ยวกับการนำเข้าเครื่องจักร การผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกัน
การผ่อนผันใช้ธนาคารค้ำประกัน
แยกการพิจารณาออกเป็น 3 กรณี
1. กรณียังไม่มีมติให้การส่งเสริม
- ไม่อนุญาตให้ใช้ธนาคารค้ำประกัน
2. กรณีมีมติให้การส่งเสริมและตอบรับมติแล้ว
- อนุญาตให้ผ่อนผันการใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
(เฉพาะอากรขาเข้า)
3. กรณีได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว
- อนุญาตให้ผ่อนผันการใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเครื่องจักร
ขั้นตอนการดำเนินงานการขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร
1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร เพื่อกรอกข้อมูลในระบบ eMT Online
(1 คำร้อง/อินวอยซ์)
1.1 ใบกำกับสินค้า (Invoice) ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลดังนี้
- เลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice No.)
- วันที่ออกใบกำกับสินค้า (Invoice Date)
- ชื่อรายการเครื่องจักร / ยี่ห้อ / Spec / จำนวน / หน่วย
- มูลค่าการนำเข้า / สกุลเงิน
- ลำดับรายการในอินวอยซ์ ลำดับรายการในใบขน
1.2 สำหรับเครื่องจักรเก่า (Used Machine) ต้องเตรียมใบรับรองประสิทธิภาพของเครื่องจักรเก่า
สามารถหาข้อมูลได้จาก http://www.ifia-federation.org/
2. บริษัทยื่นคำร้องเข้าระบบ eMT Online โดยระบบจะออกเลขที่อนุมัติ (เลขที่ อก จำนวน 19 หลัก
เช่น อก0907M561000000001) รวมทั้งส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (XML) ให้กับกรมศุลกากรไปพร้อมกัน
3. บริษัทส่งข้อมูลเลขที่อนุมัติให้กับบริษัทตัวแทนออกของ (Shipping) เพื่อดำเนินการจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า สำหรับใช้ผ่าน
พิธีการเคลียร์ของกับกรมศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่นำเข้า
ประเภทของบัญชีรายการเครื่องจักร
1.1 ชื่อหลัก หมายถึงชื่อเครื่องจักรในบัญชีเครื่องจักรทั่วไป
1.2 ชื่อรอง หมายถึงชื่อเครื่องจักรในบัญชีเครื่องจักรทั่วไปที่ปรากฎในใบขนสินค้าเพื่อใช้ในการเดินพิธีการทางศุลกากร
ข้อมูลที่ควรทราบในการทำบัญชีรายการเครื่องจักร
ขั้นตอนการดำเนินงานการจัดทำบัญชีรายการเครื่องจักร
- สำหรับเครื่องจักรเก่า (Used Machine) ต้องเตรียมใบรับรองประสิทธิภาพของเครื่องจักรเก่า
สามารถหาข้อมูลได้จาก http://www.ifia-federation.org/ พร้อมทั้งแสดงวิธีคำนวณกำลังการผลิต
- สำหรับรายการเครื่องจักรที่มีผลิตได้ในประเทศ (Negative list) ต้องเตรียมรายละเอียด Specification แนบเข้าในระบบ
เพิ่มเติม
4.1 กรณีที่รายละเอียดรายการเครื่องจักรไม่ถูกต้อง เช่น ชื่อรายการไม่สื่อว่าเป็นรายการเครื่องจักร (ระบุเป็นรายการ
อะไหล่หรือรายการแม่พิมพ์) หรือ ระบุการผูกความสัมพันธ์กับขั้นตอนการผลิตไม่ถูกต้อง หรือ ระบุรายละเอียด
การใช้งานไม่ถูกต้อง หรือ ระบุวิธีคำนวณกำลังการผลิตไม่ถูกต้อง เป็นต้น จะส่งคำร้องคืนให้กับผู้ใช้บริการ
แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและส่งคำร้องเข้าระบบมาใหม่อีกครั้งตามกรอบเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดเพื่อดำเนินการ
พิจารณาใหม่อีกครั้ง
4.2 กรณีที่รายละเอียดรายการเครื่องจักรถูกต้อง ระดับเจ้าหน้าที่จะส่งคำร้องต่อให้กับระดับหัวหน้าสายทบทวน
การพิจารณา
4.3 ระดับหัวหน้าสายดำเนินการทบทวนผลการพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติของเจ้าหน้าที่ โดยแยกออกเป็น 2 กรณี
4.3.1 กรณีระดับหัวหน้าสายทบทวนผลการพิจารณาโดยเจ้าหน้าที่แล้วเห็นชอบอนุมัติจะดำเนินการส่งคำร้องต่อให้กับ
ผู้อำนวยการกอง
4.3.2 กรณีระดับหัวหน้าสายทบทวนผลการพิจารณาโดยเจ้าหน้าที่แล้วไม่เห็นชอบจะดำเนินการส่งคำร้องคืนให้กับ
ระดับเจ้าหน้าที่กลับไปพิจารณาบัญชีรายการเครื่องจักรอีกครั้ง
4.3.3 ระดับผู้อำนวยการอนุมัติคำร้องให้กับบริษัท
5. บริษัทรับผลการพิจารณาในระบบ eMT Online เพื่อใช้ในขั้นตอนขออนุมัติสั่งปล่อย เครื่องจักรต่อไป
ขั้นตอนการทำงานระบบ eMT Online |
|||
งานขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร | ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 60 วันทำการ | ||
งานขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร | ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 ชั่วโมง | ||
งานขออนุญาต (จำนองเครื่องจักร ขยายเวลาค้ำประกันเครื่องจักร เช่าซื้อ/ลิสซิ่งเครื่องจักร) |
ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 ชั่วโมง | ||
งานขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักร (ก่อนเดินพิธีการ) | ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 ชั่วโมง | ||
งานขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักร คืนอากร /ถอนการใช้ธนาคาร ค้ำประกัน / คืนอากรนำกลับจากส่งซ่อม (หลังเดินพิธีการ) |
ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 ชั่วโมง | ||
งานส่งเครื่องจักรออกไปต่างประเทศ (ส่งคืน/ส่งซ่อม) |
ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 วันทำการ | ||
งานขอชำระอากรของงานค้ำประกันเครื่องจักร | ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 ชั่วโมง |
การสมัครใช้บริการระบบ eMT Online :
ลงทะเบียนสมัครใช้บริการ ได้ที่ >> https://eservice.ic.or.th/WebNewRegisterServiceOnline/
30
ม.ค.