Search

  • Australia
  • Thursday , Feb 1 , 2018

IC Customer Support (66) 0 2666 9449 (20 คู่สาย) l csu@ic.or.th l กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน 098 553 0447

เกี่ยวกับสมาคม

Uncategorised

Uncategorised (76)

วันเสาร์, 19 ตุลาคม 2562 16:18

งานขอยกเลิกงานเครื่องจักร (Paperless)

Written by

           สำหรับบริษัทที่ต้องการยกเลิกงานสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร(คำร้องเดิม) ทุกประเภทงาน เนื่องจากพบข้อผิดพลาดในการระบุข้อมูลลงไปในระบบ เช่น ระบุเลขที่อินวอยซ์ผิด วันที่ออกอินวอยซ์ผิด ลำดับที่รายการในอินวอยซ์/ใบขนผิด เป็นต้น หรือไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ตามหนังสืออนุมัติงานเครื่องจักรทุกประเภทงานที่บริษัทได้ยื่นขออนุมัติไว้ เช่น บริษัทได้ขออนุญาตใชธนาคารค้ำประกันเครื่องจักรไว้ แต่เครื่องจักรนั้นบริษัทได้เสียภาษีเข้ามาแทนแล้ว หรือ บริษัทได้ขออนุญาตส่งคืนเครื่องจักรออกไปต่างประเทศ แต่เปลี่ยนใจไม่ส่ง เป็นต้น ทั้งนี้ระบบ eMT Online จะยกเลิกตามคำร้องขอของบริษัท เพื่อแจ้งกรมศุลกากรให้ยกเลิกงานเดิมของบริษัทได้ โดยกำหนดประเภทการยกเลิกออกเป็น 2 กรณีดังนี้

 1. กรณีบริษัทขอยกเลิก งานก่อนเดินพิธีการ (สั่งปล่อยแบบปกติ/ใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร/สั่งปล่อยนำกลับเครื่องจักร
     ที่ส่งออกไปซ่อม) จะไม่มีหนังสือยกเลิกออกจากระบบ

     1.1 บริษัทเตรียมข้อมูลที่ประเภทคำร้องขอยกเลิกผ่านระบบ eMT Online โดยระบุข้อมูลตามรูปแบบของระบบแล้วส่งคำร้อง
           เข้าระบบ
     1.2 บริษัทยื่นคำร้องเข้าระบบ eMT Online โดยระบบจะออกเลขที่อนุมัติยกเลิก (เลขที่ อก จำนวน 19 หลัก เช่น
           อก0907M561000000001) รวมทั้งส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (XML) ให้กับกรมศุลกากรเพื่อยกเลิกคำร้องงานก่อนเดิน
           พิธีการชุดเดิมไปพร้อมกัน
     1.3 การยกเลิกจะมีผลสมบูรณ์ถ้าคำร้องงานก่อนเดินพิธีการนั้นยังไม่ได้ถูกใช้ในการผ่านพิธีการตรวจปล่อยสินค้ากับศุลกากร
          ถ้าถูกใช้ในการผ่านพิธีการตรวจปล่อยสินค้าแล้วจะไม่สามารถทำการยกเลิกได้

 2. กรณีบริษัทขอยกเลิก งานหลังเดินพิธีการ (สั่งปล่อยแบบคืนอากร/งานถอนการใชธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร/
     งานขยายเวลาค้ำประกันเครื่องจักร/งานส่งคืน-ส่งซ่อมเครื่องจักรไปต่างประเทศ) มีหนังสือยกเลิกออกจากระบบ
    
     2.1 บริษัทเตรียมข้อมูลที่ประเภทคำร้องขอยกเลิกผ่านระบบ eMT Online โดยระบุข้อมูลตามรูปแบบของระบบแล้วส่งคำร้อง
           เข้าระบบ
     2.2 พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสือขอยกเลิก และรายงานออกจากระบบ เสนอ
           เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
     2.3 เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสือขอยกเลิก
     2.4 พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสือขอยกเลิกผ่านระบบกลับไปให้บริษัท
     2.5 พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสือขอยกเลิก ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้ในการยกเลิกกับกรมศุลกากรต่อไป

 Process Flow Chart

 

         สำหรับบริษัทที่นำเข้าเครื่องจักรมาโดยการชำระอากรขาเข้าแบบสงวนสิทธิ์ หรือขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร
ซึ่งถ้าบริษัทไม่ประสงค์จะขอใช้สิทธิ์ในการขอคืนอากรหรือถอนการใช้ธนาคารค้ำประกัน เนื่องด้วยเหตุผลใดๆก็ตามสามารถที่จะ
ขอให้สำนักงานออกหนังสือเรียกเก็บอากร เพื่อแจ้งกรมศุลกากรให้เรียกเก็บอากรกับบริษัทได้

กรณีบริษัทขอชำระภาษีอากร (เสียภาษีสงวนสิทธิ์นำเครื่องจักรเข้ามา/ใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักรเข้ามา)

 1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ประเภทคำร้องขอชำระภาษีอากรระบบ eMT Online โดยระบุข้อมูลตามรูปแบบของระบบหรือเลือก
     จากงานขออนุญาตใช้ธนาคารค้ำประกันแล้วส่งคำร้องเข้าระบบ
 2. พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสือขอให้เรียกเก็บอากร และรายงานออกจากระบบ
     เสนอเจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
 3. เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสือขอให้เรียกเก็บอากรบริษัท
 4. พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสือขอให้เรียกเก็บอากรบริษัท ผ่านระบบกลับไปให้บริษัท
 5. พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสือขอให้เรียกเก็บอากรบริษัท ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้ในการชำระอากรขาเข้ากับ
     กรมศุลกากรต่อไป

Process Flow Chart

 

  งานส่งเครื่องจักรออกไปต่างประเทศนั้นจะเกิดขึ้นเนื่องจากบริษัทมีความจำเป็นต้องส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมแซม หรือส่งคืนเนื่องจากมีปัญหา โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
 1. เครื่องจักรที่ขออนุญาต ต้องได้รับอนุมัติสั่งปล่อยหรือสั่งปล่อยถอนค้ำประกันจากสำนักงานแล้ว
 2. ในกรณีส่งเครื่องจักรกลับคืนไปต่างประเทศ ต้องไม่มีผลกระทบต่อกำลังการผลิตและกรรมวิธีการผลิตเว้นแต่กรณีที่บริษัทฯได้
     แจ้งขอยกเลิกโครงการ

ขั้นตอนการดำเนินงานการส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน/ส่งซ่อม)

  1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการขออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ(ส่งคืน/ส่งซ่อม) เพื่อกรอกข้อมูลในระบบ eMT Online
      เมื่อกรอกข้อมูลในระบบเรียบร้อยแล้วให้ส่งคำร้องผ่านระบบ
  2. พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ
      (ส่งคืน/ส่งซ่อม) และรายงานออกจากระบบ เสนอเจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
  3. เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสือหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน/ส่งซ่อม)
  4. พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสือหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน/ส่งซ่อม)
      ผ่านระบบกลับไปให้บริษัท
  5. พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน/ส่งซ่อม)ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้
     ในการส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศที่กรมศุลกากรต่อไป
  6. บริษัทกรอกข้อมูลเพื่อยืนยันการส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศผ่านระบบ eMT Online สำหรับงานส่งคืนต้องระบุข้อมูล
      เลขที่ใบขนขาออก/ลงวันที่ ลงในระบบเพิ่มเติม

งานเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมเป็นส่งคืน

     งานส่งเครื่องจักรออกไปซ่อมแซมต่างประเทศ เพื่อให้เครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายสามารถใช้งานได้ดังเดิม แต่ถ้าเครื่องดังกล่าวไม่สามารถซ่อมแซมได้ เช่น เป็นเครื่องเก่าที่ตกรุ่น ล้าสมัย ไม่มีอะไหล่เปลี่ยน ทดแทน เป็นต้น ก็ไม่จำเป็นต้องนำเครื่องจักรนั้นกลับเข้ามาอีก สามารถเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมให้กลายเป็นส่งคืนได้


ขั้นตอนการดำเนินงานการเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมเป็นส่งคืน

 1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ประเภทคำร้องขอเปลี่ยนสถานะจากส่งซ่อมเป็นส่งคืนในระบบ eMT Online โดยเลือกจากคำร้องส่งซ่อม
     ที่ต้องการเปลี่ยนสถานะเป็นส่งคืนแล้วส่งคำร้องเข้าระบบ
 2. พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน) และ
     รายงานออกจากระบบ เสนอเจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
 3. เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสือหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน)
 4. พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสือหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน) ผ่านระบบกลับไปให้บริษัท
 5. พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสืออนุญาตส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ (ส่งคืน)ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานว่า
    ได้มีการเปลี่ยนสถานะการส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศจากส่งซ่อมให้เป็นส่งคืน และเพื่อใช้ในการขอตัดบัญชีเครื่องจักรต่อไป

 Process Flow Chart

 

1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรแบบ คืนอากร/ถอนค้ำประกันเครื่องจักร/คืนอากร
    (นำกลับจากส่งซ่อม)
    เพื่อกรอกข้อมูลในระบบ eMT Online (1 คำร้อง/อินวอยซ์)
     1.1 ใบกำกับสินค้า (Invoice) ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลดังนี้
           - เลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice No.)
           - วันที่ออกใบกำกับสินค้า (Invoice Date)
           - ชื่อรายการเครื่องจักร / Spec / จำนวน / หน่วย
           - มูลค่าการนำเข้า / สกุลเงิน
     1.2 วันที่นำเข้าเครื่องจักร (ต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาสิทธิ์)
     1.3 ด่านศุลกากรที่นำเข้า (ด่านศุลกากรปลายทางที่ตรวจปล่อยสินค้า)
     1.4 ประเทศที่นำเข้า
     1.5 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (1 หน่วยสกุลเงินต่างประเทศ = มูลค่าสกุลเงินบาท)
     1.6 ลำดับรายการในอินวอยซ์ ลำดับรายการในใบขน
     1.7 ใบขนสินค้าขาเข้า (เลขที่ใบขนจำนวน 14 หลัก กรณีเป็นการสั่งปล่อยแบบคืนอากร)

เมื่อดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ส่งคำร้องเข้าระบบ

1. พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร/ถอนค้ำประกัน
    เครื่องจักร(กรณีถอนค้ำไม่เต็มจำนวนจะพิมพ์หนังสือเรียกเก็บอากรเพิ่มเติม) / คืนอากร(นำกลับจากส่งซ่อม) และรายงาน
    ออกจากระบบ เสนอเจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
2. เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร/ถอนค้ำประกันเครื่องจักร/คืนอากร(นำกลับจากส่งซ่อม)
3. พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร/ถอนค้ำประกันเครื่องจักร/คืนอากร(นำกลับ
    จากส่งซ่อม) ผ่านระบบกลับไปให้บริษัท(.PDF) และส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (XML) ให้กับกรมศุลกากรตามลำดับ
4. พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยแบบคืนอากร/ถอนค้ำประกันเครื่องจักร/คืนอากร(นำกลับจากส่งซ่อม)
    ให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้ในการคืนอากร/ถอนการใช้ธนาคารค้ำประกัน/คืนอากร(นำกลับจากส่งซ่อม) ที่กรมศุลกากรต่อไป

Process Flow Chart

 

1. การอนุมัติให้ลดหย่อน หรือ ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับ เครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งยังไม่ได้ ผ่านพิธีการทางศุลกากร
    หรือผ่านพิธีการทางศุลกากรโดยได้มีการชำระภาษีอากรขาเข้าแบบสงวนสิทธิ์ไว้
2. การอนุมัติการถอนใช้ธนาคารค้ำประกันแทนการชำระอากรขาเข้า


ขั้นตอนการดำเนินงานการขออนุมัติสั่งปล่อยก่อนเดินพิธีการ

1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรเพื่อกรอกข้อมูลในระบบ eMT Online (1 คำร้อง/อินวอยซ์)
    1.1 ใบกำกับสินค้า (Invoice) ต้องมีรายละเอียดของข้อมูลดังนี้
          - เลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice No.)
          - วันที่ออกใบกำกับสินค้า (Invoice Date)
          - ชื่อรายการเครื่องจักร / Spec / จำนวน / หน่วย
          - มูลค่าการนำเข้า / สกุลเงิน
    1.2 วันที่นำเข้าเครื่องจักร (ต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาสิทธิ์)
    1.3 ด่านศุลกากรที่นำเข้า (ด่านศุลกากรปลายทางที่ตรวจปล่อยสินค้า)
    1.4 ประเทศที่นำเข้า
    1.5 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (1 หน่วยสกุลเงินต่างประเทศ = มูลค่าสกุลเงินบาท)
    1.6 ลำดับรายการในอินวอยซ์ ลำดับรายการในใบขน

2. บริษัทยื่นคำร้องเข้าระบบ eMT Online โดยระบบจะออกเลขที่อนุมัติ (เลขที่ อก จำนวน 19 หลัก
    เช่น อก0907M561000000002) รวมทั้งส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (XML) ให้กับกรมศุลกากรไปพร้อมกัน
3. บริษัทส่งข้อมูลเลขที่อนุมัติให้กับบริษัทตัวแทนออกของ (Shipping) เพื่อดำเนินการจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า
    สำหรับใช้ผ่านพิธีการเคลียร์ของกับกรมศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่นำเข้า

 Process Flow Chart

 

การขยายเวลาใช้ธนาคารค้ำประกัน แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
• กรณียังไม่ได้รับบัตรส่งเสริม
   - จะผ่อนผันให้ขยายเวลาตามที่เห็นสมควร
• กรณีได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว
   - จะผ่อนผันให้ขยายเวลาได้ จากสาเหตุที่สำนักงานเห็นสมควร
 
ตัวอย่างเช่น
   1. อยู่ระหว่างการพิจารณาบัญชีรายการเครื่องจักร
   2. การพิจาณาขยายเวลานำเข้ายังไม่แล้วเสร็จ
   3. การแก้ไขโครงการยังไม่แล้วเสร็จ
   4. อื่นๆตามที่สำนักงานเห็นสมควร

ขั้นตอนการดำเนินงานการขออนุญาตขยายเวลาค้ำประกันเครื่องจักร
 
1. บริษัทเตรียมข้อมูลที่ประเภทคำร้องขอขยายเวลาค้ำประกันเครื่องจักร ในระบบ eMT Online
    โดยเลือกจากคำร้องค้ำประกันที่ต้องการขอขยายเวลาค้ำประกันออกไป แล้วยื่นคำร้องเข้าระบบ
2. พนักงานสมาคม รับเรื่องคำร้องที่ถูกส่งเข้ามาตามลำดับคิวและพิมพ์หนังสืออนุญาตขอขยาย เวลาใช้ธนาคารค้ำประกันและ
    รายงานออกจากระบบ และเสนอเจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามอนุมัติ
3. เจ้าหน้าที่สำนักงานลงนามตามหนังสืออนุญาตขอขยายเวลาใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร
4. พนักงานสมาคม ดำเนินการแนบไฟล์หนังสืออนุญาตขอขยายเวลาใช้ธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร (.PDF) ผ่านระบบกลับไป
    ให้บริษัทและส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (XML) ให้กับกรมศุลกากรตามลำดับ
5. พนักงานสมาคมส่งมอบเอกสารหนังสืออนุมัติขยายเวลาค้ำประกันเครื่องจักรให้กับบริษัทเพื่อนำไปใช้ในการขยายเวลาที่
    กรมศุลกากรต่อไป


Process Flow Chart

 
 

ปฏิทินฝึกอบรม

IC Knowledge Management

เลขที่ 1 อาคารทีพีแอนด์ที ชั้น 12 ถนน วิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

(66) 0 2666 9449
< Customer Support Unit: CSU กด 1  อีเมล csu@ic.or.th
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ eMT กด 1 และ กด 1
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ RMTS กด 1 และ กด 2
< ติดตามเอกสารงานเครื่องจักรและวัตถุดิบ กด 2
    - ยื่นรายการวัตถุดิบ, สูตรการผลิต, โอนสูตร, ปรับยอดวัตถุดิบด้วยเอกสาร
    - ขอ username/password ic online, eMT online
    - ขอตัดบัญชีวัตถุดิบ, ยกเลิกการตัดบัญชีวัตถุุดิบ
      สำนักงานกรุงเทพ กด 2 และ กด 1 
      สาขาชลบุรี กด 2 และ กด 2 
< บริการสมาชิกและผู้ใช้บริการ กด 3
   - สมัครสมาชิกและผู้ใช้บริการ อีเมล cus_service@ic.or.th
   - บริการฝึกอบรม อีเมล icis@ic.or.th
   - บริการ Counter Service
      - บริการคีย์ข้อมูลเครื่องจักร วัตถุดิบและช่างฝีมือ: counterservice@ic.or.th
      - บริการยื่นไฟล์งานวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
      - บริการขอข้อมูลเครื่องจักรและวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
< ด้านการชำระเงิน กด 4 อีเมล finance@ic.or.th

"มั่นใจเมื่อใช้ IC"

    

 Copyright 2019 Investor Club Association About us All rights reserved.

logo

EasyCookieInfo

☰ open
© 2018 Your Company. All Rights Reserved. Designed By Your Company

Search