Search

  • Australia
  • Thursday , Feb 1 , 2018

IC Customer Support (66) 0 2666 9449 (20 คู่สาย) l csu@ic.or.th l กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน 098 553 0447

ข่าวสารจาก BOI

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หัวใจในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยี

วันศุกร์, 19 พฤษภาคม 2566 15:40 816

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หัวใจในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 

อุปกรณ์แทบจะทุกชนิดที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ล้วนแล้วแต่มี “ชิป” เป็นหัวใจสำคัญ ที่อยู่เบื้องหลังกลไกการทำงานของอุปกรณ์เหล่านั้นแทบทั้งสิ้น ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ยานยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในบ้าน รวมทั้งอุตสาหกรรมการแพทย์ เมื่อโลกเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น จึงมีมากขึ้นตามไปด้วย เราจะพาไปสำรวจ 5 ผู้นำของโลกในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีแห่งอนาคต

อันดับที่ 1 Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC)
เป็นบริษัทที่มีรายได้มากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีบทบาทสำคัญในตลาดเซมิคอนดักเตอร์และตลาดอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก โดยเป็นที่รู้จักดีในวงการมาเกือบ 30 ปี ธุรกิจหลักของบริษัทสัญชาติไต้หวันรายนี้คือการผลิตแผงวงจร หรือชิปขั้นสูง ผู้ผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกรายนี้ยังมีลูกค้าระดับโลกอย่างบริษัท Apple เป็นต้น

อันดับที่ 2
Samsung Group
เป็นบริษัทจากเกาหลีใต้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสำหรับผู้บริโภคและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ Samsung ยังเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย บริษัทมีชื่อเสียงด้านการเป็นผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับหน่วยความจำในวงการเซมิคอนดักเตอร์ โดยได้ผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ออกมาหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ตัวขยายสัญญาณ ชิป หรืออุปกรณ์หน่วยความจำ เรียกได้ว่าบริษัทสามารถออกแบบและผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทตนได้อย่างไม่ต้องสงสัย

อันดับที่ 3
Intel
เป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อันดับสามของโลก แต่เป็นผู้ผลิตซีพียู (CPU) และการ์ดจอ (GPU) สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใหญ่ที่สุดของโลก!! เครื่องคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากมีไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งเป็นชิปที่ประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็วและช่วยประหยัดพลังงานจาก Intel เป็นตัวประมวลผลหลัก
นอกจากนี้บริษัทยังผลิตไมโครชิปและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ โดยเป็นผู้ผลิตชิปรายสำคัญที่ใช้ในสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและอุปกรณ์มือถืออื่นๆ Intel เป็นหนึ่งในแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์พัฒนาอย่างก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้

อันดับที่ 4 Qualcomm
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และชิปสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมที่อาศัยเทคโนโลยีที่มีความเร็วและความเสถียรสูงในการรับส่งข้อมูล ได้แก่ CDMA, GSM, 4G และ 5G เป็นต้น ปัจจุบัน Qualcomm เป็นผู้จัดหาชิปเบสแบนด์ อุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมสัญญาณการสื่อสารของสมาร์ทโฟนและเชื่อมต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และชิปโมบายที่จะแปลงสัญญาณข้อมูลให้เหมาะสมสำหรับการสื่อสารสำหรับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ โดยสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ที่วางจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดต่างก็ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาโดย Qualcomm อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่ได้รับสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับมาตรฐานการสื่อสารไร้สายต่าง ๆ จำนวนมากที่สุด

อันดับ 5 SK Group
เป็นบริษัทใหญ่สัญชาติเกาหลีใต้อันดับห้าของกลุ่มผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่มีรายได้สูงสุดในโลก SK Group ดำเนินธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น พลังงาน อุตสาหกรรมเคมี การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในปี 2012 บริษัท SK ได้เข้าซื้อบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของเกาหลี Hynix เพื่อขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในนามของบริษัทย่อย 'SK Hynix' ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปหน่วยความจำระดับโลกที่ได้รับความนิยมในตลาดอุตสาหกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลหรือการประมวลผลข้อมูลแบบอัตโนมัติ

ความท้าทายของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ คือการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อผลิตชิปที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงในขนาดที่เล็กลงเรื่อย ๆ ตามความต้องการของตลาด รวมถึงการไม่หยุดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานต่ำและมีประสิทธิภาพสูงเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น
เมื่อมองไปข้างหน้า เราจะเห็นว่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีอนาคตอีกยาวไกล ซึ่งในตอนนี้ถือเป็นโอกาสทองที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตไปอีกขั้น

>บีโอไอมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในประเทศไทย โดยเฉพาะการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

ปฏิทินฝึกอบรม

IC Knowledge Management

เลขที่ 1 อาคารทีพีแอนด์ที ชั้น 12 ถนน วิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

(66) 0 2666 9449
< Customer Support Unit: CSU กด 1  อีเมล csu@ic.or.th
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ eMT กด 1 > กด 1 
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ RMTS กด 1 > กด 2 
< ติดตามเอกสารงานเครื่องจักรและวัตถุดิบ กด 2
    - ยื่นรายการวัตถุดิบ, สูตรการผลิต, โอนสูตร, ปรับยอดวัตถุดิบด้วยเอกสาร
    - ขอ username/password ic online, eMT online
    - ขอตัดบัญชีวัตถุดิบ, ยกเลิกการตัดบัญชีวัตถุุดิบ
      สำนักงานกรุงเทพ กด 2 > กด 1 สาขาชลบุรี กด 2 > กด 2 
      สาขานครราชสีมา กด 2 > กด 3 สาขาเชียงใหม่ กด 2 > กด 4
      สาขาขอนแก่น กด 2 > กด 5 สาขาสงขลา กด 2 > กด 6
< บริการสมาชิกและผู้ใช้บริการ กด 3
   - สมัครสมาชิกและผู้ใช้บริการ อีเมล cus_service@ic.or.th
   - บริการฝึกอบรม อีเมล icis@ic.or.th
   - บริการ Counter Service
      - บริการคีย์ข้อมูลเครื่องจักร วัตถุดิบและช่างฝีมือ: counterservice@ic.or.th
      - บริการยื่นไฟล์งานวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
      - บริการขอข้อมูลเครื่องจักรและวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
< ด้านการชำระเงิน กด 4 อีเมล finance@ic.or.th

"มั่นใจเมื่อใช้ IC"

    

 Copyright 2019 Investor Club Association About us All rights reserved.

logo

EasyCookieInfo

☰ open
© 2018 Your Company. All Rights Reserved. Designed By Your Company

Search