IC Focus: ไขปัญหางานตัดบัญชีวัตถุดิบ
โดย กฤตยา วิชัยดิษฐ์
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ใน IC Focus ครั้งที่ผ่านมา เราได้พูดถึงประเด็นการตัดบัญชีวัตถุดิบกรณีการส่งออกผลิตภัณฑ์ปกติแต่จัดทำข้อมูลการส่งออกในใบขนสินค้าขาออกไม่ถูกต้อง และทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาตัดบัญชีวัตถุดิบแบบไร้เอกสารได้ จึงต้องขอตัดบัญชีวัตถุดิบแบบใช้เอกสาร ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติไปแล้ว โดยมีวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหนึ่งวิธี นั่นคือ การขอแก้ไขข้อมูลการส่งออกกับกรมศุลกากร ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและสูญเสียเวลาดำเนินการ
ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ดูแลด้านการส่งออก ที่จะต้องรู้และเข้าใจการจัดทำข้อมูลวัตถุดิบว่าต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง เพื่อจะนำข้อมูลนั้นมาตัดบัญชีวัตถุดิบแบบไร้เอกสารที่สมาคมได้สำเร็จ
สำหรับฉบับนี้ ผู้เขียนจะขอเพิ่มเติมถึงประเด็นการส่งออกของสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยในอดีตที่ผ่านมา ก่อนที่สมาคมจะเปิดให้บริการระบบฐานข้อมูลออนไลน์ การจัดทำสูตรการผลิตของสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งกลับออกไปนั้น จะตั้งชื่อสูตรการผลิตตามกรุ๊ป หรือรายการสินค้าที่นำกลับเข้ามา เช่น วัตถุดิบรายการที่ 1 ตั้งกรุ๊ปเป็น R00001 => INTEGRATED CIRCUIT สูตรการผลิตที่บันทึกกับระบบ จะบันทึกชื่อเป็น RTV R00001 แต่เมื่อบริษัททำการส่งออกและชื่อที่ระบุในใบขนสินค้าขาออกจะระบุเป็น INTEGRATED CIRCUIT รุ่น IC 2565 ซึ่งไม่ตรงกับชื่อสูตรการผลิตที่บันทึกไว้ในระบบกับสมาคม ปัญหาที่ตามมาคือ ใบขนสินค้าขาออกดังกล่าวจะไม่สามารถตัดบัญชีวัตถุดิบแบบไร้เอกสารได้
ปัจจุบัน สมาคมได้เปิดให้บริการระบบฐานข้อมูลออนไลน์ และได้มีการปรับเปลี่ยนการยื่นข้อมูลสูตรการผลิตสำหรับสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งกลับออกไป โดยให้คีย์ข้อมูลชื่อสูตร และชื่อรุ่น ให้เหมือนกับชื่อสูตรและชื่อรุ่นของผลิตภัณฑ์ปกติที่ได้รับอนุมัติแล้ว มีวิธีการคีย์ข้อมูลและรายละเอียดดังนี้
โดยมีสาระสำคัญในการคีย์ข้อมูล ดังนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์ Product Name และ Product Code ต้องตรงกับชื่อสูตรผลิตภัณฑ์ปกติที่ได้รับอนุมัติแล้ว ระบบจึงจะกำหนดให้เป็น Revision 0 ซึ่งหมายถึงสูตรสำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งกลับออกไป
2. ใน 1 Sheet 1 ผลิตภัณฑ์ ช่อง Product Code มีได้หลายรุ่น แต่จะต้องเป็นรายการวัตถุดิบที่นำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งกลับออกไป เท่านั้น
3. สูตรผลิตภัณฑ์ Return จะมีการใช้วัตถุดิบเพียง 1 รายการเท่านั้น
4. ช่อง Qty_Net และ Qty_Gross ต้องไม่เป็นค่าว่าง และช่อง Qty_loss ต้องเท่ากับ 0
5. ไฟล์สูตรผลิตภัณฑ์ 1 ไฟล์ สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 Sheet และได้สูงสุดไม่เกิน 50 Sheet ความจุไม่เกิน 2 Mb และ จะต้องไม่มี Sheet ว่าง
6. การคีย์ข้อมูล สามารถคีย์ได้ทั้ง “อักษรพิมพ์เล็ก” และ “อักษรพิมพ์ใหญ่” แต่ห้ามเป็นภาษาไทย
สำหรับผู้ใช้บริการที่มีสูตรการผลิตแบบเดิมคือ RTVR00001 ท่านสามารถมาขอแก้ไขสูตรการผลิตของสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งกลับออกไปต่างประเทศให้ถูกต้องตามรูปแบบใหม่ได้ เพื่อจะได้ตัดบัญชีวัตถุดิบแบบไร้เอกสารต่อไปได้
และอย่าลืมติดตามเรื่องราวใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของท่านในครั้งต่อไป โดยท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ทางเว็บไซต์สมาคม www.ic.or.th หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ หน่วยงาน CSU โทรศัพท์ 02 666 9449 กด 1 หรืออีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
------------------------------------------------