Search

  • Australia
  • Thursday , Feb 1 , 2018

IC Customer Support (66) 0 2666 9449 (20 คู่สาย) l csu@ic.or.th l กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน 098 553 0447 (นอกเวลาทำการ)

IC FAQ

FAQ : การทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร

วันศุกร์, 22 เมษายน 2565 15:53

FAQ : การทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร

Q: ขอสอบถามและขอคำแนะนำดังนี้
    1. การขอทำลายส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ บริษัทต้องขออนุมัติทำลายโดยวิธีการใด และต้องดำเนินการอย่างไร
    2. บริษัทที่เข้ามารับทำลายส่วนสูญเสียวัตถุดิบ ต่อจากบริษัท Third Party จำเป็นหรือไม่ว่าจะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
    3. ในกรณีที่ส่วนสูญเสียวัตถุดิบ (มีมูลค่าเชิงพาณิชย์) การกำหนดราคาสินค้า ต้องกำหนดก่อน หรือ หลังจากการทำลาย

A: ตอบคำถาม ดังนี้
    1. วิธีการทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร ขึ้นอยู่กับลักษณะของส่วนสูญเสียนั้นๆ เช่น ส่วนสูญเสียบางชนิดอาจใช้วิธีทุบ บด อัด ให้เสียสภาพ หรือบางชนิดใช้การตัดให้เป็นชิ้นๆ หรือบางชนิดใช้วิธีเผา เป็นต้น โดยการยื่นขออนุมัติวิธีทำลายส่วนสูญเสียวัตถุดิบ ให้บริษัทยื่นแบบฟอร์มตาม Link
    2. บริษัทผู้ทำลายจะเป็นบริษัทใดก็ได้ หรือจะเป็นบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนรายนั้นเองก็ได้ (แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการทำลายด้วย) เช่น หากทำลายโดยวิธีทุบ บด อัด บริษัทที่ได้รับส่งเสริมอาจเช่าเครื่องมือจากภายนอก มาทุบ บด อัด ส่วนสูญเสีย ให้เสียสภาพเองก็ได้
    3. Third Party (บริษัทที่ได้รับมอบหมายจาก BOI) มีหน้าที่ตรวจสอบรับรองชนิด / ปริมาณของส่วนสูญเสียวัตถุดิบ และรับรองว่าได้มีการทำลายจริงตามวิธีที่ BOI อนุมัติ
    4. คำว่า "ราคาสินค้า" ที่สอบถาม หมายถึงอะไร / หมายถึงราคาสินค้าตามบัตรส่งเสริมการลงทุน หรือราคาเศษซากหลังการทำลาย

Q: สอบถามเพิ่มเติม ดังนี้
    1. สำหรับคำถามในข้อที่ 3 ราคาสินค้า หมายถึง ราคาของเศษซากหลังการทำลาย
    2. ขอสอบถามเพิ่มเติมว่า สำหรับส่วนสูญเสียนอกสูตร (ที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์) บริษัทต้องยื่นขอชำระภาษีอากรด้วยใช่หรือไม่ และต้องดำเนินการในช่วงใด

A: ตอบคำถามเพิ่มเติม ดังนี้
    1. เมื่อทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตรเป็นเศษซาก ตามวิธีทำลายที่ได้รับอนุญาตแล้ว
        - หากเศษซาก ไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ สามารถยื่นขออนุมัติตัดบัญชีวัตถุดิบต่อ BOI และยื่นปรับยอดวัตถุดิบต่อ IC ได้ แต่หากเศษซาก มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ต้องยื่นขออนุมัติตัดบัญชีวัตถุดิบแบบมีภาระภาษีต่อ BOI จากนั้น จึงยื่นชำระภาษีต่อกรมศุลกากร แล้วจึงยื่นขอปรับยอดวัตถุดิบต่อสมาคม (IC)
    2. เศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องยื่นชำระภาษีต่อกรมศุลกากรให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายได้

การอ้างอิงตามประกาศ BOI :
ส่วนสูญเสียนอกสูตร
หมายถึง วัตถุดิบทั้งก่อนและหลังการผลิต ที่ไม่สามารถจำหน่ายเป็นสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน
เศษซาก
หมายถึง ส่วนสูญเสียที่ผ่านการทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุญาตแล้ว (แต่ส่วนสูญเสียในสูตร ถือเป็นเศษซากแล้ว ไม่ต้องนำมาทำลายอีก)

**หากใช้คำศัพท์เทคนิคตามนี้ จะช่วยให้สื่อสารกับ BOI ได้ถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น

---------------------------------------------------------------

เลขที่ 1 อาคารทีพีแอนด์ที ชั้น 12 ถนน วิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

(66) 0 2666 9449
< Customer Support Unit: CSU กด 1  อีเมล csu@ic.or.th
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ eMT กด 1 และ กด 1
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ RMTS กด 1 และ กด 2
< ติดตามเอกสารงานเครื่องจักรและวัตถุดิบ กด 2
    - ยื่นรายการวัตถุดิบ, สูตรการผลิต, โอนสูตร, ปรับยอดวัตถุดิบด้วยเอกสาร
    - ขอ username/password ic online, eMT online
    - ขอตัดบัญชีวัตถุดิบ, ยกเลิกการตัดบัญชีวัตถุุดิบ
      สำนักงานกรุงเทพ กด 2 และ กด 1 
      สาขาชลบุรี กด 2 และ กด 2 
< บริการสมาชิกและผู้ใช้บริการ กด 3
   - สมัครสมาชิกและผู้ใช้บริการ อีเมล cus_service@ic.or.th
   - บริการฝึกอบรม อีเมล icis@ic.or.th
   - บริการ Counter Service
      - บริการคีย์ข้อมูลเครื่องจักร วัตถุดิบและช่างฝีมือ: counterservice@ic.or.th
      - บริการยื่นไฟล์งานวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
      - บริการขอข้อมูลเครื่องจักรและวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
< ด้านการชำระเงิน กด 4 อีเมล finance@ic.or.th
< กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน ติดต่อ 098 553 0447
   : ติดต่อนอกเวลาทำการเท่านั้น จันทร์-ศุกร์ 17.01-08.30 น.
    และ เสาร์-อาทิตย์, วันหยุดนักขัตฤกษ์ ตลอด 24 ชั่วโมง

 

"มั่นใจเมื่อใช้ IC"

    

 Copyright 2019 Investor Club Association About us All rights reserved.

logo

EasyCookieInfo

☰ open
© 2018 Your Company. All Rights Reserved. Designed By Your Company

Search