Search

  • Australia
  • Thursday , Feb 1 , 2018

IC Customer Support (66) 0 2666 9449 (20 คู่สาย) l csu@ic.or.th l กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน (ระบบขัดข้อง) Tel. 098 553 0447

ข่าวสารจาก BOI

บีโอไอเผยลงทุนไตรมาสแรก 4.3 แสนล้านบาท ฐานลงทุนไทยยังแกร่ง ท่ามกลางสงครามการค้า

วันอังคาร, 06 พฤษภาคม 2568 08:29 62

บีโอไอ เผยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรก ปี 2568 ทะยานต่อเนื่อง ทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน โดยมีคำขอรับส่งเสริมกว่า 820 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 431,000 ล้านบาท นำโดยอุตสาหกรรมดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ การลงทุนจากต่างประเทศพุ่งกว่า 260,000 ล้านบาท ฮ่องกง อันดับ 1 ตามด้วยจีน และสิงคโปร์ สะท้อนศักยภาพไทยแข็งแกร่ง

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าแนวโน้มการลงทุนในไทยในปี 2568 ยังเติบโตสูง และได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรก มีการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งในด้านจำนวนโครงการและเงินลงทุน ในส่วนของตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 822 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าเงินลงทุนรวม 431,237 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 97 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อศักยภาพของประเทศไทย

กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูง ได้แก่ ดิจิทัล 94,735 ล้านบาท (40 โครงการ) อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 87,814 ล้านบาท (122 โครงการ) ยานยนต์และชิ้นส่วน 23,499 ล้านบาท (72 โครงการ) การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 17,517 ล้านบาท (102 โครงการ) ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 13,942 ล้านบาท (81 โครงการ) เกษตรและแปรรูปอาหาร 12,719 ล้านบาท (61 โครงการ) การท่องเที่ยว 9,261 ล้านบาท (10 โครงการ) และการแพทย์ 8,034 ล้านบาท (25 โครงการ)

สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมจำนวน 618 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 เงินลงทุนรวม 267,664 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 62 โดยประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง 135,159 ล้านบาท จีน 47,308 ล้านบาท สิงคโปร์ 38,075 ล้านบาท ญี่ปุ่น 25,111 ล้านบาท ไต้หวัน 4,756 ล้านบาท เนเธอร์แลนด์ 2,142 ล้านบาท มาเลเซีย 1,919 ล้านบาท ไอร์แลนด์ 1,628 ล้านบาท ฝรั่งเศส 1,531 ล้านบาท นอร์เวย์ 1,418ล้านบาท ตามลำดับ

ในด้านพื้นที่ เงินลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก มีมูลค่า 246,555 ล้านบาท จาก 444 โครงการ รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง 152,525 ล้านบาท ภาคใต้ 17,256 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5,551 ล้านบาท ภาคตะวันตก 3,980 ล้านบาท และภาคเหนือ 2,930 ล้านบาท ตามลำดับ

นอกจากนี้ การขอรับการส่งเสริมตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart และ Sustainable Industry) ซึ่งเป็นการลงทุนปรับปรุงกิจการเดิมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีผู้ให้ความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสแรก ปี 2568 มีคำขอรับการส่งเสริมจำนวน 82 โครงการ และมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 5,548 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต และการนำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้ในกิจการ

สำหรับการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน ในไตรมาสแรกของปี 2568 มีจำนวน 776 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 582,225 ล้านบาท โดยประโยชน์ของโครงการที่ได้รับอนุมัติเหล่านี้ คาดว่าจะมีการใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณ 1.9 แสนล้านบาท/ปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 43 ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมด เกิดการจ้างงานคนไทยประมาณ 60,000 ตำแหน่ง และทำให้มูลค่าส่งออกของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 3.9 แสนล้านบาท/ปี ขณะที่ การออกบัตรส่งเสริม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงการลงทุนจริงมากที่สุดมีจำนวน 660 โครงการ เงินลงทุนรวม 236,778 ล้านบาท

“สถิติการลงทุนในไตรมาสแรกแสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมของการลงทุนในประเทศไทยที่ยังมีอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา แต่จากนี้ไป นโยบายภาษีของสหรัฐอเมริกา การแบ่งขั้วและการกีดกันทางเทคโนโลยีของประเทศมหาอำนาจ จะทำให้ไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งจากสหรัฐอเมริกา จีน และคู่แข่งในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ให้ได้รับโอกาสสูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในครั้งนี้ ในส่วนของนโยบายส่งเสริมการลงทุน ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือเพิ่มเติมกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อเตรียมเสนอบอร์ดปรับเปลี่ยนมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และสามารถตอบโจทย์ทิศทางใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างงานที่มีคุณค่าสูง การส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี การร่วมทุน การใช้วัตถุดิบในประเทศ การรักษาระดับการแข่งขันให้เหมาะสม รวมทั้งการปกป้องอุตสาหกรรมบางประเภทที่ผู้ประกอบการไทยมีความเปราะบาง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะสามารถดึงดูดการลงทุนที่ไม่ได้มีเพียงเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ แต่ยังจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยและคนไทยได้อย่างแท้จริง” นายนฤตม์ กล่าว

รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

ปฏิทินฝึกอบรม

IC Knowledge Management

เลขที่ 1 อาคารทีพีแอนด์ที ชั้น 12 ถนน วิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

(66) 0 2666 9449
< Customer Support Unit: CSU กด 1  อีเมล csu@ic.or.th
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ eMT กด 1 และ กด 1
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ RMTS กด 1 และ กด 2
< ติดตามเอกสารงานเครื่องจักรและวัตถุดิบ กด 2
    - ยื่นรายการวัตถุดิบ, สูตรการผลิต, โอนสูตร, ปรับยอดวัตถุดิบด้วยเอกสาร
    - ขอ username/password ic online, eMT online
    - ขอตัดบัญชีวัตถุดิบ, ยกเลิกการตัดบัญชีวัตถุุดิบ
      สำนักงานกรุงเทพ กด 2 และ กด 1 
      สาขาชลบุรี กด 2 และ กด 2 
< บริการสมาชิกและผู้ใช้บริการ กด 3
   - สมัครสมาชิกและผู้ใช้บริการ อีเมล cus_service@ic.or.th
   - บริการฝึกอบรม อีเมล icis@ic.or.th
   - บริการ Counter Service
      - บริการคีย์ข้อมูลเครื่องจักร วัตถุดิบและช่างฝีมือ: counterservice@ic.or.th
      - บริการยื่นไฟล์งานวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
      - บริการขอข้อมูลเครื่องจักรและวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
< ด้านการชำระเงิน กด 4 อีเมล finance@ic.or.th
< กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน (ระบบขัดข้อง) ติดต่อ 098 553 0447
   : วันจันทร์-วันศุกร์เวลา 17:01 - 08:30 น.
    วันเสาร์-วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตลอด 24 ชั่วโมง
    ***กรณีต้องการสอบถามเรื่องทั่วไป กรุณาติดต่อโทรศัพท์ 02 666 9449 กด 1 : CSU

 

"มั่นใจเมื่อใช้ IC"

    

 Copyright 2019 Investor Club Association About us All rights reserved.

logo

EasyCookieInfo

☰ open
© 2018 Your Company. All Rights Reserved. Designed By Your Company

Search