หลังจาก ราชกิจจาบุเบกษา ประกาศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) หรือ “แผนพัฒนาฯ 13” ถือเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศไทย ตามแผนมีสถานะเป็นแผนสำคัญในระดับที่ 2 ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะยาว 20 ปี ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ
การกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ เพื่อให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ
สำหรับเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญ เพื่อให้การขับเคลื่อนประเทศให้ให้บรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
- รายได้ต่อหัวคนไทย เท่ากับ 9,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 300,000 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 รายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ 7,097 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 227,000 บาท โดยเพิ่มขึ้น 73,000 บาท
- ดัชนีความก้าวหน้าของคนอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 0.7209 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 อยู่ที่ 0.6501
- ความแตกต่างของความเป็นอยู่หรือรายจ่าย ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงสุด 10% และต่ำสุด 40% มีค่าต่ำกว่า 5 เท่า เพิ่มขึ้นจากปี 2563 มีค่าเท่ากับ 5.68 เท่า
- ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงไม่น้อยกว่า 20% เมื่อเทียบเคียงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกปกติที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพิ่มขึ้นจากปี 2562 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานลดลง 17%
ขณะเดียวกันยังกำหนดเป้าหมายของการเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่ ดังนี้
- ขีดความสามารถของการปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศและการเตรียมความพร้อมฉุกเฉินด้านสุขภาพ อยู่ที่ 90% โดยมีสมรรถนะหลักแต่ละด้านไม่ต่ำกว่า 80% เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มี 85%
- อันดับความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ อยู่ที่อันดับเฉลี่ย 5 ปี (2566-2570) ไม่น้อยกว่า 40 เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งอยู่ที่ 36.8
- อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล อยู่ที่อันดับ 30 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ซึ่งอยู่อันดับที่ 38
- อันดับประสิทธิภาพของรัฐบาล อยู่ที่อันดับ 20 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ซึ่งอยู่อันดับที่ 15
อ่านรายละเอียด : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
ข้อมูลจาก : https://www.thansettakij.com/business/545945?fbclid=IwAR3Xxremf6Gt0Gh11r45n8u_rBhKZBrhDwi2ixvGJsLTh1vP5uwMDajVOEI