Search

  • Australia
  • Thursday , Feb 1 , 2018

IC Customer Support (66) 0 2666 9449 (20 Lines) l csu@ic.or.th l Emergency (System Failure) 098 553 0447

BOI News

บีโอไอเคาะมาตรการชุดใหญ่ เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย พร้อมคว้าโอกาสโลกการค้ายุคใหม่

Wednesday, 21 May 2025 09:29 58

บอร์ดบีโอไอ อนุมัติมาตรการชุดใหญ่ เสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทย รับมือการค้าโลกยุคใหม่ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางความผันผวน มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน พร้อมออกมาตรการส่งเสริมกิจการท่องเที่ยวในเมืองรอง ฟื้นเที่ยวไทยทั่วประเทศ อนุมัติส่งเสริมลงทุน 7 โครงการ มูลค่าเฉียด 1 แสนล้านบาท

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2568 การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้เห็นชอบ เห็นชอบ “มาตรการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยเพื่อรองรับโลกยุคใหม่” โดยมุ่งยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทย รักษาสมดุลทางเศรษฐกิจ ภายใต้สภาวะตลาดที่มีความผันผวน เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากมาตรการการค้าของสหรัฐอเมริกา และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยในหลากหลายอุตสาหกรรมได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ระดับโลก โดยมีมาตรการสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้

1. ส่งเสริมให้ SMEs ไทย ปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยออกมาตรการพิเศษเพื่อกระตุ้นให้ SMEs ไทย ลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร การใช้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัล การประหยัดพลังงาน การยกระดับสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ SMEs ไทย จากเดิมยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ปรับเพิ่มขึ้นเป็นยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปี ในวงเงินร้อยละ 100

2. งดให้การส่งเสริมกิจการที่อาจมีปริมาณผลิตเกินความต้องการ (Oversupply) หรือกิจการที่มีความเสี่ยงต่อมาตรการการค้าของสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ เช่น กิจการผลิตเซลล์และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่กลุ่มตะกั่ว-กรด อุปกรณ์เสริมและอุปกรณ์ตกแต่งยานพาหนะ กิจการตัดโลหะ กิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้วกรณีตั้งนอกนิคมอุตสาหกรรมและไม่มีกระบวนการรีไซเคิล นอกจากนี้ ยังจะงดส่งเสริมกิจการเหล็กขั้นปลายเพิ่มเติมจากเดิม ได้แก่ กิจการผลิตเหล็กทรงยาวทุกชนิด เหล็กทรงแบน (เฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นหนา) และท่อเหล็กชนิดต่าง ๆ

3. เพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณากระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญ สำหรับบางกิจการที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากมาตรการการค้าสหรัฐฯ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะ และอุตสาหกรรมเบา โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขชัดเจนว่า ต้องมีกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญ โดยมีการแปรสภาพวัตถุดิบหลักเป็นผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ เช่น มีการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรอย่างน้อยในระดับ 4 หลัก เพื่อให้การผลิตเพื่อส่งออกของไทยเป็นที่ยอมรับและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชัดเจนมากยิ่งขึ้น

4. ปรับปรุงเงื่อนไขการจ้างงานบุคลากรต่างชาติ สำหรับกิจการผลิตที่ขอรับการส่งเสริมลงทุนและมีการจ้างงานทั้งบริษัทตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จะต้องมีการจ้างบุคลากรไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของการจ้างงานทั้งหมด นอกจากนี้ จะกำหนดรายได้ขั้นต่ำของบุคลากรต่างชาติที่จะขอใช้สิทธิด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงานกับบีโอไอ เช่น ถ้าเป็นระดับผู้บริหาร ต้องมีรายได้ 150,000 บาทขึ้นไป และระดับผู้เชี่ยวชาญ 50,000 บาทขึ้นไป เพื่อสร้างสมดุลการจ้างงานในประเทศให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการแย่งงานบุคลากรไทย และกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรไทยมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศให้มาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เศรษฐกิจไทยได้

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้บีโอไอดำเนินการศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ และการส่งเสริมการร่วมทุน ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการต่างชาติร่วมมือกับผู้ประกอบการไทยและช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับคนไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกิจการที่มีความสำคัญต่อการสร้างห่วงโซ่อุปทาน และให้นำกลับมาเสนอบอร์ดอีกครั้ง

ส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบ “มาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการด้านการท่องเที่ยวในเมืองรอง” ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ ในเมืองรอง เพื่อส่งเสริมการกระจายตัวของนักท่องเที่ยว และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น โดยสำหรับกิจการด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ กิจการสร้างแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพ สวนสนุก ศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมไทย ศูนย์หัตถกรรมไทย พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์เปิด ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ หอประชุมขนาดใหญ่ ท่าเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) บริการที่จอดเรือท่องเที่ยว สนามแข่งขันยานยนต์ กระเช้าไฟฟ้าและรถรางไฟฟ้าเพื่อการท่องเที่ยว หากเป็นการลงทุนตั้งสถานประกอบการในเมืองรอง 55 จังหวัด จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม จากเดิม 5 ปี เป็น 8 ปี และสำหรับกิจการโรงแรม หากตั้งในเมืองรอง 55 จังหวัด จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม จากเดิม 3 ปี เป็น 5 ปี

ปรับปรุงกิจการ Data Center, Data Hosting และ Cloud Service

บอร์ดบีโอไอ ได้อนุมัติการปรับปรุงการส่งเสริมการลงทุนกิจการ Data Center, Data Hosting และ Cloud Service ให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจในปัจจุบัน โดยจะเน้นให้สิทธิประโยชน์ระดับสูงกับกิจการที่ใช้อุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลผลขั้นสูง (Advanced Computing Capabilities) และมีการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งได้เพิ่มเงื่อนไขให้โครงการที่จะขอรับการส่งเสริม ต้องเสนอแผนพัฒนาบุคลากรไทย เช่น การจัดทำหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษา การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs หรือการใช้อุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศ โดยต้องดำเนินการตามแผนที่เสนอให้แล้วเสร็จก่อนการใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การลงทุนในกลุ่มธุรกิจนี้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลแก่ประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ไฟเขียวลงทุน 7 โครงการ มูลค่าเฉียดแสนล้าน

ที่ประชุมได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนกิจการ Data Center และพลังงานหมุนเวียน รวม 7 โครงการ มูลค่าลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย กิจการ Data Center 5 โครงการ ได้แก่ (1) บริษัท วิสตัส เทคโนโลยี จำกัด เงินลงทุน 6,854 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี (2) บริษัท บริดจ์ ดาต้า เซ็นเตอร์ ไอไอไอ (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 14,452 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี (3) บริษัท กาแล็คซี่ พีค ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด เงินลงทุน 23,553 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง (4) บริษัท กาแล็คซี่ ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด เงินลงทุน 22,313 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง และ (5) บริษัท ดิจิทัล เอดจ์ ดีซี (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 24,522 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี

กิจการพลังงานหมุนเวียน 2 โครงการ ได้แก่ (1) บริษัท อัลฟ่า วัน โปรเจค จำกัด ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม เงินลงทุน 3,195 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชุมพร และ (2) บริษัท อัลฟ่า ทู โปรเจค จำกัด ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม เงินลงทุน 4,838 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

calendar

IC Knowledge Management

1 TP&T Tower, 12th Fl., Vibhavadi-Rangsit Rd.,
Chatuchak, Bangkok 10900

(66) 0 2666 9449
< Customer Support Unit: CSU press 1 email : csu@ic.or.th
   - Using the RMTS system eMT Online  press 1 and press 1
   - Using the RMTS system RMTS  press 1 and press 2
< Follow up on machinery and raw materials press 2
   - Raw Material Database Service
   - Machinery Database Service
   - Raw Material Release Letter Service
   - Raw Material Balance Adjustment
     : Bangkok press 2 and press 1
     : Chonburi press 2 and press 2
< RMTS, eMT Online, Membership Application press 3
   -- Subscription and service users email : cus_service@ic.or.th
   -- Training & Seminar Service email : icis@ic.or.th
   -- Counter Service 
        - data entry service for machinery, raw material and e-expert 
          : counterservice@ic.or.th
        - Raw material filing service : bis_center@ic.or.th
        - Service for requesting information on machinery
          and raw materials : bis_center@ic.or.th
< Payment & Invoice press 4 email : finance@ic.or.th
< In case of Emergency (System Failure) contact 098 553 0447
   : Monday-Friday 17:01 - 08:30
     Saturday-Sunday and public holidays 24 hours
     ***For General Inquiries, Please Call 02 666 9449 press 1 : CSU

 

IC : Your Trust, Our Commitment

    

 Copyright 2019 Investor Club Association About us All rights reserved.

logo

EasyCookieInfo

☰ open
© 2018 Your Company. All Rights Reserved. Designed By Your Company

Search