1. กรณีบริษัทได้รับสิทธิ์มาตรา 36(1) เมื่อมีการนำเข้าวัตถุดิบแล้วบริษัทจะต้องทำการตัดบัญชีเมื่อใด
ตอบ เมื่อบริษัททำการสั่งปล่อยวัตถุดิบ นำวัตถุดิบเข้ามาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์และส่งออก และมีการขออนุมัติสูตรการผลิต เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการดาวน์โหลดใบขนสินค้ามาดำเนินการตัดบัญชี (หากไม่ตัดบัญชีเกิน 4 เดือนจะถูกการระงับสิทธินับเข้าวัตถุดิบ)
2. สอบถามกรณีดาวน์โหลดข้อมูลส่งออก เพื่อนำมาตัดบัญชี บริษัทสามารถดาวน์โหลดได้ภายในวันนับจากวันที่ส่งออก
ตอบ ระบบจะดาวน์โหลดข้อมูลจากระบบ e-Trancking ของกรมศุลกากรใช้เวลาประมาณ 5-10 วัน นับจากวันที่ส่งออก
3.กรณีบริษัทยื่นขอตัดบัญชีระบบเดิม ใบขนสินค้าขาออกที่ใช้ประกอบการตัดบัญชีจะต้องมีสถานะอะไร จึงจะสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดบัญชีได้
ตอบ ใบขนสินค้าขาออกจะต้องระบุสถานะ 04 หรือ 0409 และจะต้องระบุการใช้สิทธิ์ BOI จึงจะใช้ประกอบการตัดบัญชีได้
4. กรณีใบขนสินค้าขาออก ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ใบขนสินค้าขาออกปรากฏว่า Status 04 สามารถนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบได้หรือไม่
ตอบ ใบขนสินค้าที่ระบุ Status 04 สามารถนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบได้ และมีวันที่ Release/Load สมบูรณ์
5. กรณีที่บริษัทได้รับข้อมูลการโอนสิทธิ์ ( Report-V) จากบริษัทผู้โอน ซึ่งปริมาณที่ได้รับโอนมีมากกว่าที่ทำการซื้อขายกันบริษัทจะต้องตัดบัญชีอย่างไร
ตอบ ให้บริษัทที่ได้รับการโอนสิทธิ์ตัดบัญชีตามปริมาณที่ได้ทำการซื้อขายกันจริง โดยผู้รับโอนสิทธิ์สามารถตัดบัญชีได้ในปริมาณที่น้อยกว่าหรือเท่ากับปริมาณที่ได้รับการโอนสิทธิ์
6. กรณีบริษัทตัดบัญชีระบบเดิม ซึ่งในใบขนขาออกไม่ได้ระบุชื่อรุ่นผลิตภัณฑ์ในช่อง Product code สามารถนำมาประกอบการตัดบัญชีวัตถุดิบได้หรีอไม่
ตอบ กรณีดังกล่าวบริษัทสามารถแนบอินวอยซ์ขาออกเพื่อประกอบการตรวจสอบเอกสารได้
7. กรณีบริษัทได้รับการโอนสิทธิ์การตัดบัญชี เมื่อปี 2559 และบริษัททำเอกสารการรับโอนสิทธิ์ Report – v สูญหายจะต้องทำอย่างไร
ตอบ บริษัทผู้โอนสิทธิ์ต้องแจ้งความเอกสารหาย และเตรียมเอกสารต่างๆ เช่น จดหมายบริษัท ใบแจ้งความ หนังสือผู้มอบ-ผู้รับมอบอำนาจ และยื่นด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์บริการงานวัตถุดิบ หรือยื่นผ่านช่องทางอีเมล ตามสาขาที่ใช้บริการ
8. การตัดบัญชีแบบไร้เอกสารกรณีบริษัทมีการโอนสิทธิ์ให้บริษัท Vendor กรณีดังกล่าวผู้รับโอนจะได้รับเอกสาร Report-V เพื่อนำไปตัดบัญชีหรือไม่
ตอบ กรณีบริษัทตัดบัญชีแบบไร้เอกสาร เมื่อทำการโอนสิทธิ์ Vendor ผู้รับโอนสามารถดาวน์โหลดข้อมูล Vendor ได้จากระบบ IC Online และนำไปเตรียมไฟล์สำหรับการตัดบัญชีต่อไป ทั้งนี้จะไม่มีเอกสารดังกล่าว
9. การดาวน์โหลดข้อมูล Vendor ในระบบ IC Online หากบริษัทพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องจะต้องแก้ไขอย่างไร
ตอบ บริษัทผู้รับโอนจะต้องตรวจสอบข้อมูลกับผู้โอนและแจ้งให้ผู้โอนยกเลิกการตัดบัญชีเพื่อโอนข้อมูลใหม่ให้ถูกต้อง
10. กรณีบริษัทตัดบัญชีระบบเดิม การส่งไฟล์ข้อมูล BIRTEXP , BIRTEXL หากบริษัทต้องการส่งไฟล์ทีละคำร้องได้หรือไม่
ตอบ ไม่สามารถส่งคำร้องโดยแยกไฟล์ได้ โปรแกรมรับเรื่องจะอ่านข้อมูลทั้ง 2 ไฟล์ต่อคำร้อง
11. การเตรียมไฟล์ Export ในช่อง Revision ทุกครั้งที่ยื่นตัดบัญชีบริษัทจะต้องระบุว่าเป็นสูตรการผลิต Revision หรือไม่
ตอบ บริษัทจะต้องระบุ Revision ทุกครั้ง เพื่อความถูกต้องบริษัทจำเป็นจะต้องระบุ Revision เพื่อตัดให้ตรงตามสูตรการผลิตของบริษัท
12. การยื่นตัดบัญชีระบบเดิม และบริษัทมีการโอนสิทธิ์ให้บริษัท Vendor ในไฟล์ BIRTVEN ช่อง Ven_ID หมายถึงอะไร
ตอบ หมายถึงเลขที่นิติบุคคลของบริษัทผู้รับโอน (หรือผู้ขาย)
13. การตัดบัญชีวัตถุดิบที่บริษัทมีการส่งออกตั้งแต่เมื่อไหร่ ที่ไม่ต้องใช้ใบขนสินค้าขาออก เพื่อเป็นเอกสารประกอบการตัดบัญชีวัตถุดิบ
ตอบ สำหรับใบขนสินค้าขาออกที่มีการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 สามารถตัดบัญชีแบบไร้เอกสารได้
14. หลักการบันทึกชื่อไฟล์ข้อมูลที่ใช้ตัดบัญชีวัตถุดิบปัจจุบัน บริษัทจะต้องบันทึกโดยกำหนดชื่อไฟล์อย่างไร
ตอบ การกำหนดชื่อไฟล์ที่ใช้ในการตัดบัญชีวัตถุดิบ บริษัทสามารถเลือกกำหนดได้ 2 กรณี ดังนี้
1.กรณีตัดบัญชีวัตถุดิบโดยใช้เอกสารการส่งออกก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ให้บริษัทกำหนดชื่อไฟล์ (BIRTEXP)
2.กรณีตัดบัญชีวัตถุดิบโดยใช้เอกสารการส่งออกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ให้บริการกำหนดชื่อไฟล์ (EXPORT)
15. เมื่อบริษัทยื่นตัดบัญชีแบบไร้เอกสาร และบริษัทตรวจสอบสถานะในระบบพบว่ามีเลขที่หนังสืออนุมัติตัดบัญชีและสถานะอนุมัติแล้วเรียบร้อย ปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ Balance ถูกปรับลดลงทันทีหรือไม่
ตอบ หากข้อมูลถูกต้อง เมื่อบริษัทตรวจสอบสถานะคำร้องในระบบพบว่า สถานะอนุมัติและมีเลขที่หนังสืออนุมัติ ระบบจะปรับ Balance คงเหลือทันที
16. ระบบ RMTS-2011 บริษัทสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหว MML ได้ตลอดเวลาหรือไม่
ตอบ บริษัทสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยผ่านช่องทางระบบ IC Online เมนูตรวจสอบ MML
17. กรณีบริษัทตัดบัญชีแบบไร้เอกสาร ได้รับอนุมัติแล้วและต้องการยกเลิกการตัดบัญชีวัตถุดิบ กรณีไม่มีการโอนสิทธิ์ บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ บริษัททำหนังสือขอยกเลิกการตัดบัญชีแบบไร้เอกสารโดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มจาก
www.ic.or.th และนำส่งให้กับสมาคมผ่านช่องทางอีเมล ตามที่บริษัทใช้บริการ
18. กรณีบริษัทส่งข้อมูลเพื่อขอดำเนินการตัดบัญชีระบบเดิม ซึ่งจะต้องใช้เอกสารประกอบนั้น บริษัทต้องยื่นเอกสารภายในกี่วัน นับตั้งแต่วันยื่นข้อมูล
ตอบ ภายใน 5 วันทำการ หากผิดเงื่อนไขระบบจะทำการลบข้อมูลออกจากระบบโดยอัตโนมัติ ผู้ประกอบการจะต้องส่งคำร้องใหม่อีกครั้ง
19. บริษัทยื่นงานตัดบัญชีในระบบ RMTS-2011 ระบบแจ้งว่าไม่พบสูตรการผลิต ไม่อนุญาตตัดบัญชีได้ บริษัทต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ เบื้องต้นบริษัทจะต้องตรวจสอบข้อมูลสูตรการผลิตดังกล่าวว่าได้รับอนุมัติหรือไม่ หากในระบบไม่พบสูตรการผลิตดังกล่าว บริษัทจำเป็นจะต้องยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตให้เรียบร้อยจึงจะสามารถตัดบัญชีได้
20. ในกรณีที่บริษัทมีสูตรการผลิตในระบบมากกว่า 1 Revision ซึ่งแต่ละ Revision จะมีช่วงระยะเวลาของการใช้งานสูตรการผลิตที่ต่างกัน บริษัทต้องการนำใบขนขาออกไปตัดบัญชีวัตถุดิบกับสูตรการผลิตที่มีช่วงวันที่ส่งออกไม่ตรงกับในใบขนสินค้า สามารถตัดบัญชีวัตถุดิบได้หรือไม่
ตอบ ในการเตรียมไฟล์ export ระบบจะกำหนดให้บริษัทระบุ Revision ที่ต้องการตัดบัญชี เพื่อให้บริษัทสามารถเลือกได้ตรงตามช่วงเวลาของการใช้สูตรการผลิตได้
21. โครงสร้างการเตรียมไฟล์ export หัวคอลัมน์ ของการจัดเตรียมไฟล์ข้อมูลตัดบัญชีวัตถุดิบ บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนเองได้หรือไม่
ตอบ แนะนำให้บริษัทดาวน์โหลดโครงสร้างการคีย์ข้อมูล เพื่อใช้งานตามรูปแบบที่ระบบกำหนด
22. กรณีเป็นบริษัท Vendor ได้รับแจ้งจากผู้ส่งออกทางตรงว่าโอนสิทธิ์ให้แล้ว เมื่อเข้าเมนู Down Load ข้อมูล Vendor ไม่ปรากฏข้อมูลเนื่องจากอะไร
ตอบ 1.ผู้โอนอาจลืมโอนสิทธิ์แต่เข้าใจว่าตัวเองโอนสิทธิ์ให้ Vendor
2.ผู้โอนระบุเลข Ven_ID ของบริษัท Vendor ไม่ถูกต้องระบบก็ไม่สามารถดึงข้อมูลได้
3.ผู้โอนไม่ได้ระบุประเภทของผู้รับโอน (Type) "B" ซึ่งหมายถึงผู้ได้รับสิทธิ์ BOI
23. การตัดบัญชีแบบ PAPERLESS เมื่อบริษัททำการส่งข้อมูลผ่านระบบ ONLINE ตรวจสอบข้อมูลแล้วระบบ "แจ้งว่าพบข้อผิดพลาด" บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ให้บริษัทดำเนินการตรวจสอบ ERROR บริษัทสามารถดำเนินการแก้ไขได้ 2 แบบ คือ
1. หากตรวจสอบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องจริง ให้ดำเนินการแก้ไข และส่งคำร้องเข้าระบบใหม่อีกครั้ง
2. หากบริษัททำการแก้ไขและประสงค์จะส่งคำร้องให้กับเจ้าหน้าที่ BOI สามารถคลิ๊กส่งต่อคำร้องให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาได้
24. กรณีบริษัทยื่นไฟล์ข้อมูลเพื่อตัดบัญชีวัตถุดิบ และระบบแจ้งว่าเมื่อตัดบัญชีแล้วทำให้มี Balance ติดลบ บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ เบื้องต้นระบบจะไม่อนุญาตให้ตัดบัญชีวัตถุดิบ ดังนั้นในการตัดบัญชีวัตถุดิบแนะนำให้บริษัททำการคำนวณปริมาณ ก่อนการตัดบัญชีวัตถุดิบทุกครั้ง ว่าจะต้องโอนสิทธิ์หรือไม่ หรือตัดบัญชีวัตถุดิบแล้วปริมาณคงเหลือเท่าไหร่ ซึ่งหากบริษัทมีการซื้อวัตถุดิบภายในประเทศจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จะต้องทำการโอนสิทธิ์การตัดบัญชีด้วย ทั้งนี้การขออนุมัติบัญชีวัตถุดิบและสูตรการผลิตกับสำนักงาน BOI ให้ขออนุมัติเฉพาะรายการที่เกี่ยวข้องกับ BOI เท่านั้น
25. กรณีตัดบัญชีระบบเดิม บริษัทพบว่ายื่นเอกสารตัดบัญชีผ่านการรับเรื่องประมวลผลแล้วแต่ ในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารสมาคมพบว่า บริษัทแนบใบขนสินค้าขาออก เป็น Status 02 หรือ Status 03 กรณีนี้บริษัทจะต้องดำเนินการแก้ไข อย่างไร
ตอบ บริษัทแก้ไขโดยแนบใบขนสินค้าขาออกที่เป็น Status 04 หรือ 0409 แทน และนำกลับมายื่นให้กับพนักงานสมาคม โดยไม่จำเป็นต้องยกเลิก
26. กรณีบริษัทยื่นตัดบัญชีในระบบ Ic Online ระบบแจ้งข้อผิดพลาด "ไม่พบชื่อผลิตภัณฑ์และรหัสผลิตภัณฑ์ ในฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์" หมายความว่าอะไรและบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ หมายถึงข้อมูลที่บริษัทคีย์ตัดบัญชี เกี่ยวกับชื่อผลิตภัณฑ์หรือรุ่นผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวยังไม่มีในระบบฐานข้อมูลของสมาคม ดังนั้นบริษัทจะต้องขออนุมัติกับสำนักงาน BOI ก่อนและระบบจะทำการบันทึกข้อมูลลงในระบบ RMTS จึงจะสามารถตัดบัญชีได้
27. สาเหตุที่บริษัทไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลการส่งออกได้เนื่องจากสาเหตุใด และบริษัทควรดำเนินการเช่นไร
ตอบ 1. ไม่ได้ระบุสิทธิและประโยชน์ BOI
2. ไม่ได้ระบุ BOI ตามด้วยเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักของผู้ส่งออก ในช่องเลขที่ใบอนุญาต
3. ระบุวันที่สร้างใบขนในช่องของวันที่
4. ระบุเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักของ BOI ในช่องเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีของหน่วยงานที่อนุญาต
5.บริษัทได้ใส่เลขที่นิติบุคคลของบริษัทอื่นลงในช่องหมายเหตุส่งกรมศุลกากร
28. การตัดบัญชีวัตถุดิบทั้งแบบ MANUAL หรือ PAPERLESS เลขที่ใบขนสินค้าขาออก 1 ฉบับบริษัท สามารถนำมาตัดบัญชีซ้ำได้หรือไม่ เนื่องจากมีบางรายการ Model ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
ตอบ เงื่อนไข 1 ใบขนบริษัทสามารถนำมาตัดบัญชีได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นในกรณีนี้ แนะนำให้บริษัททำการขออนุมัติสูตรการผลิตกับ สกท.ให้ เรียบร้อยก่อนการตัดบัญชีวัตถุดิบ
29. หากบริษัทต้องการทราบว่าปริมาณที่บริษัทจะต้องทำการตัดบัญชีเหลือเท่าไหร่ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้หรือไม่อย่างไร
ตอบ บริษัทสามารถตรวจสอบได้จาก MASTER LIST ( MML) โดยตรวจสอบปริมาณในช่อง ปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ (BALANCE)
30. บริษัทได้รับสิทธิ์มาตรา 30 จะต้องทำการตัดบัญชีวัตถุดิบอย่างไร เนื่องจากบริษัทไม่มีใบขนสินค้าขาออก
ตอบ มาตรา 30 เป็นการใช้สิทธิ์นำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตและขายภายในประเทศ ดังนั้นจึงไม่มีใบขนสินค้าขาออกแต่อย่างใด โดยผู้ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวจะทำการตัดบัญชีรอบปีละ 1 ครั้ง โดยทำการสรุปบันทึกปริมาณการใช้ในรอบปี เพื่อให้ สกท.พิจารณาและสั่งการให้ทำการตัดบัญชีกับสมาคมต่อไป
31. กรณีบริษัทได้รับหนังสืออนุมัติส่วนสูญเสียในรูปผลิตภัณฑ์จาก สกท. เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2562 บริษัทจะทำการตัดบัญชีต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ บริษัทสามารถตัดบัญชีได้โดยเตรียมไฟล์ EXPORT และทำการส่งข้อมูล ผ่านระบบ Ic Online โดย เลือกเมนูเอกสารอื่นๆ และนำเอกสารมายื่นที่สมาคมเพื่อทำการตัดบัญชีต่อไป
32. ขอทราบขั้นตอนการเตรียมไฟล์และเอกสารยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบด้วยเอกสารอื่น
ตอบ 1. บริษัทเตรียมไฟล์ข้อมูลการตัดบัญชีวัตถุดิบตามโครงสร้างที่กำหนด
2. ส่งคำร้องผ่านระบบ Ic Online งานตัดบัญชีวัตถุดิบ โดยเลือกส่งไฟล์ข้อมูลที่ เมนูเอกสารอื่น
3. เอกสารฉบับจริง ส่งให้สมาคมที่เคาน์เตอร์บริการด้วยตนเอง หรือนำส่งทางไปรษณีย์
33. กรณีบริษัทเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภทกิจการจิวเวอร์รี่ หากต้องการยื่นตัดบัญชีจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ สำหรับกลุ่มกิจการจิวเวอร์รี่ ให้ทำการส่งข้อมูลตัดบัญชี Ic Online เลือกประเภทใบขนสินค้า และนำเอกสารการส่งออกมายื่นที่สมาคมเพื่อดำเนินการต่อไป
34. กรณีบริษัทมีการตัดบัญชีและโอนสิทธิ์ให้บริษัท Vendor พบว่าระบุ Model ไม่ถูกต้อง และต้องการยกเลิก Report-V จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ กรณีไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ตัดบัญชี และผู้รับโอนสิทธิ์ยังไม่ได้นำเอกสารไปทำการตัดบัญชี ผู้โอนสามารถทำการยกเลิกการโอน Report-V พร้อมทั้งยื่นใหม่ในระบบ Ic Online ได้
35. กรณีบริษัทต้องการตัดบัญชีใบขนสินค้าขาออกที่ไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไข จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1.ทำหนังสือขอตัดบัญชีกรณีใบขนสินค้าขาออกที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ยื่นผ่านช่องทางอีเมล ตามสาขาที่ใช้บริการ
2. สำนักงาน BOI พิจารณากรณีผ่านการอนุมัติ บริษัททำการตัดบัญชีแบบมีเอกสารกับสมาคม
3. มีค่าธรรมเนียมดำเนินการใบขนละ 1,000 บาท
36. กรณีบริษัทยื่นตัดบัญชีระบบแจ้ง Balance ติดลบ เนื่องจากมีจองยอดส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศ ซึ่งบริษัทได้นำมาหนังสืออนุญาตมาปรับยอดแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ แจ้งมายังสมาคมผ่านทางอีเมล
csu@ic.or.th หรือติดต่อทางโทรศัพท์ 02 666 9449 กด 1 โดยระบุชื่อบริษัท รหัสโครงการ เลขที่รับเรื่องงานปรับยอด เพื่อให้สมาคมทำการตรวจสอบและดำเนินการปลดล็อกการจองยอดดังกล่าว
37. กรณีบริษัทต้องการทราบว่ามีใบขนสินค้าขาออกที่ยังไม่นำมาตัดบัญชีหรือไม่ บริษัทสามารถตรวจสอบได้อย่างไร
ตอบ สามารถตรวจสอบผ่านระบบ Ic Online เลือกระบบงานตัดบัญชี ==> เลือกเมนูตรวจสอบสถานะ==> เลือกใบขนขาออกเกิน 1 ปี (ที่ยังไม่ตัดบัญชี)
38. กรณีบริษัทตรวจสอบในระบบ Ic Online และพบว่ามีใบขนสินค้าขาออกเกิน 1 ปี แต่ทั้งนี้บริษัทยังมีระยะเวลาการได้รับสิทธิ์การนำเข้า กรณีดังกล่าวบริษัทจะต้องยื่นแสดงความจำนงการใช้ใบขนสินค้าขาออกในระบบ Ic Online หรือไม่
ตอบ กรณีระยะเวลานำเข้ายังไม่สิ้นสุดสิทธิ์ และพบว่ามีใบขนสินค้าขาออกเกิน 1 ปี บริษัทสามารถทำการตัดบัญชีได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องแสดงความจำนงการใช้ใบขนดังกล่าว
39. กรณีบริษัทยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าและพบว่ามีใบขนสินค้าขาออกเกิน 1 ปี และต้องการยื่นแสดงความจำนงใบขนที่มีอายุเกิน 1 ปี จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1. คีย์ไฟล์ excel แสดงความจำนงการใช้สิทธิใบขนสินค้าขาออกเกิน 1 ปี ในระบบ Ic Online ตามโครงสร้างที่กำหนด โดยสามารถเลือก สถานะ 1= ตัดบัญชีบัตรที่ต้องการขยาย
สถานะ 2= ตัดบัญชีโครงการอื่น สถานะ 3= ต้องการสละสิทธิ์ใบขนสินค้า
2. กรณีในไฟล์ excel มีการระบุสถานะ 3 ระบบจะสร้างหนังสือเพื่อให้บริษัทยืนยันข้อเท็จจริง โดยจะต้องลงนามโดยกรรมการบริษัท นำส่งเข้าระบบ
3. สมาคมตรวจสอบความถูกต้อง และเชื่อมโยงข้อมูลไปยังระบบขยายระยะเวลาของสำนักงาน BOI ต่อไป
40. กรณีบริษัทแสดงความจำนงการใช้ใบขน และแนบเอกสารยืนยันแสดงความจำนงไม่ถูกต้อง โดยลืมให้กรรมการบริษัทลงนาม กรณีดังกล่าวจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ แก้ไขโดยให้บริษัททำการส่งคำร้องไฟล์ excel แสดงความจำนงฯ ใหม่อีกครั้ง ระบบจะสร้างหนังสือยืนยันให้ใหม่ และเมื่อบริษัทให้กรรมการบริษัทลงนามแล้วให้ทำการส่งไฟล์หนังสือยืนยันเข้าระบบ เพื่อให้สมาคมทำการตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งค่าไปยังระบบขยายระยะเวลาของสำนักงาน BOI
41. การแสดงความจำนงการใช้ใบขน กรณีกรรมการบริษัทไม่สะดวกลงนามในหนังสือยืนยันข้อเท็จจริง บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ บริษัทสามารถให้ผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ลงนามแทนได้ โดยทั้งนี้จะต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมคือหนังสือมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
42. กรณีบริษัทแสดงความจำนงการใช้ใบขนโดยใช้ สถานะ 1 = ตัดบัญชีบัตรที่ต้องการขยาย เข้าในระบบ Ic Online แล้ว ยังพบว่าในระบบขยายระยะเวลาของ สำนักงาน BOI ยังพบว่ามีใบขนสินค้าขาออกที่เกิน 1 ปี คงค้าง กรณีดังกล่าวเกิดจากอะไร
ตอบ กรณีดังกล่าวจะเกิดจากเมื่อบริษัทยื่นแสดงความจำนงการใช้ใบขนในระบบ Ic Online แล้วแต่ยังไม่ได้นำใบขนสินค้าขาออกดังกล่าวมาทำการตัดบัญชี ระบบขยายจะยังคงแจ้งสถานะใบขนเกิน 1 ปีคงค้างเช่นเดิม
43. สอบถามช่วงระยะเวลาการดาวน์โหลดข้อมูล Report-v หรือดาวน์โหลดข้อมูลส่งออกใบขน บริษัทสามารถดาวน์โหลดได้ครั้งละกี่วัน
ตอบ บริษัทสามารถดาวน์โหลดได้ครั้งละ 30 วัน โดยกำหนดวันที่เริ่มต้น-สิ้นสุด ภายใน 30 วัน
44. กรณีบริษัทพบว่าโครงการของบริษัทถูกระงับการสั่งปล่อยวัตถุดิบเนื่องจากไม่ตัดบัญชีเกิน 4 เดือน หากบริษัทต้องทำหนังสือชี้แจงจะต้องทำไปยื่นที่หน่วยงานใด
ตอบ ทำหนังสือบริษัทเพื่อชี้แจงต่อสำนักงาน BOI หน่วยงานศูนย์บริการลงทุน
45. กรณีบริษัทต้องการทำหนังสือชี้แจงเนื่องจากไม่ตัดบัญชีเกิน 4 เดือน บริษัทควรดำเนินการเมื่อไหร่
ตอบ บริษัทควรทำหนังสือชี้แจงและยื่นต่อสำนักงาน BOI ศูนย์บริการลงทุนภายใน 15 วันนับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งเตือน
46. กรณีบริษัทต้องการยกเลิกตัดบัญชีระบบ Paperless เนื่องจากสูตรการผลิตไม่ถูกต้องและจะทำการแก้ไขสูตรแล้วตัดบัญชีใหม่ มีขั้นตอนการยกเลิกอย่างไร
ตอบ 1.บริษัทดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอยกเลิกการตัดบัญชีด้วยระบบ Paperless กรอกรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ส่งเอกสารทางอีเมลสาขาตามที่ใช้บริการ
2. ทำการยื่นขอสูตรการผลิตผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์
3. ทำการยื่นตัดบัญชีใหม่อีกครั้ง ตามขั้นตอน
47. กรณีบริษัทพบว่าโครงการที่สิ้นสุดสิทธิ์เกิน 2 ปีแล้ว และมีปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ แต่ไม่มีใบขนสินค้าขาออกคงค้างแล้ว บริษัทสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างเพื่อทำการเคลียร์ปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ
ตอบ กรณีดังกล่าวบริษัทสามารถแจ้งกับสำนักงาน BOI เพื่อจะขอชำระภาษีอากร ทั้งนี้ สำนักงาน BOI จะออกหนังสือให้บริษัทไปชำระภาษีอากรกับกรมศุลกากร จากนั้นนำหลักฐานเพื่อขอปรับยอดชำระภาษีอากรกับสมาคมต่อไป
48. กรณีเจ้าหน้าที่ BOI แนะนำให้รวมเป็นกรุ๊ปเดียวกันสำหรับรายการที่ชื่อหลักวัตถุดิบเหมือนกัน และสำหรับกรุ๊ปที่เหลือให้ปรับ MAX STOCK ให้เป็นศูนย์ อยากทราบว่าจะมีปัญหากับการตัดบัญชีหรือไม่
ตอบ กรณีดังกล่าวบริษัทจะต้องยื่นขออนุมัติแก้ไขสูตรการผลิตด้วย เนื่องจากกรุ๊ปวัตถุดิบที่อยู่ในสูตรการผลิตเดิมเปลี่ยนไป จะส่งผลต่อการตัดบัญชีวัตถุดิบ