1. การสั่งปล่อยวัตถุดิบมีทั้งหมดกี่ประเภท
ตอบ การสั่งปล่อยมีทั้งหมด 5 ประเภท ซึ่งแบ่งเป็น
งานก่อนเดินพิธีการ ซึ่งเป็นงานแบบไร้เอกสาร ได้แก่
1.การสั่งปล่อยแบบยกเว้นอากรขาเข้า (BIRTIMP1)
2.การสั่งปล่อยแบบใช้ธนาคารค้ำประกัน (BIRTIMP2)
งานหลังเดินพิธีการ ซึ่งเป็นงานแบบมีเอกสาร ได้แก่
3.การสั่งปล่อยแบบถอนค้ำประกันเต็มจำนวน (BIRTIMP3)
4.การสั่งปล่อยแบบถอนค้ำประกันไม่เต็มจำนวน (BIRTIMP4)
5.สั่งปล่อยแบบขอคืนอากร (BIRTIMP5)
2. งานก่อนเดินพิธีการและงานหลังเดินพิธีการมีขั้นตอนการทำงานที่ต่างกันอย่างไร
ตอบ งานก่อนเดินพิธีการ หมายถึง งานสั่งปล่อยปกติ (Birtimp1) หรืองานสั่งปล่อยค้ำประกัน (Birtimp2) งานหลังเดินพิธีการ หมายถึง งานสั่งปล่อยถอนค้ำประกันเต็มจำนวน (Birtimp3) งานสั่งปล่อยถอนค้ำไม่เต็มจำนวน (Birtimp4) หรืองานสั่งปล่อยขอคืนอากร (Birtimp5) ปัจจุบันการให้บริการผ่านระบบ IC Online เป็นแบบไร้เอกสาร สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงไม่มีข้อแตกต่างกัน
3. ระบบงานสั่งปล่อยวัตถุดิบก่อนเดินพิธีการ RMTS-2011 แบบไร้เอกสาร (Paperless) เริ่มให้บริการตั้งแต่เมื่อไหร่
ตอบ งานสั่งปล่อยวัตถุดิบแบบ แบบไร้เอกสาร (Paperless) เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2558
4. ระบบงานสั่งปล่อยวัตถุดิบหลังเดินพิธีการ RMTS-2011 แบบไร้เอกสาร (Paperless) เริ่มให้บริการตั้งแต่เมื่อไหร่
ตอบ ระบบงานสั่งปล่อยวัตถุดิบ หลังเดินพิธีการ (ขอคืนอากร หรือขอถอนการใช้ธนาคารค้ำประกัน เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2564)
5. เนื่องจากบริษัทได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบจากสำนักงาน BOI และระบบทำการบันทึกข้อมูลในระบบ RMTS แล้ว สอบถามว่าบริษัทจะทำการสั่งปล่อยวัตถุดิบ ต้องคีย์ข้อมูลวัตถุดิบในส่วนที่เป็นชื่อหลัก หรือ ชื่อรอง
ตอบ การสั่งปล่อยวัตถุดิบระบบกำหนดให้ใช้ไชื่อรองในการสั่งปล่อยซึ่งเป็นชื่อที่ตรง ตามอินวอยซ์ขาเข้า โดยคีย์ข้อมูลในช่อง DESC 1 ซึ่งหากบริษัทมีส่วนขยายให้คีย์ข้อมูลเพิ่มเติมไว้ที่ DESC 2 หรือหากบริษัทใช้ชื่อรองตรงกับชื่อหลัก ก็สามารถใช้เป็นชื่อเดียวกันได้
6. การเตรียมไฟล์ข้อมูล Birtimp1 ตามโครงสร้างการเตรียมไฟล์ชื่อ Desc2 บริษัทจำเป็นจะต้องคีย์ข้อมูลหรือไม่
ตอบ ไม่จำเป็น Desc2 เป็นเพียงส่วนขยายเช่น Size หรือ Item No.
7. กรณีบริษัทมีอินวอยซ์ขาเข้า แต่พบว่าวัตถุดิบที่นำเข้ายังไม่ได้รับอนุมัติจาก สำนักงาน BOI กรณีเช่นนี้บริษัทจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
ตอบ บริษัทสามารถดำเนินการได้ 2 แบบคือ
1.ขอใช้ธนาคารค้ำประกัน โดยทำการสั่งปล่อยแบบค้ำประกันเข้ามาในระบบ IC Online โดยบันทึกไฟล์ (BIRTIMP2) หลังจากได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบแล้ว บริษัทสามารถสั่งปล่อยแบบถอนค้ำประกันได้ภายหลัง
2.ขอสงวนสิทธิ์ BOI โดยทำการชำระภาษีอากรกับกรมศุลกากร ซึ่งต้องแจ้งขอสงวนสิทธิ์ BOI และ สามารถสั่งปล่อยแบบขอคืนอากรได้ภายหลัง
8. บริษัทคีย์ข้อมูลในไฟล์ Birtimp1 (สั่งปล่อยวัตถุดิบ) ไม่ถูกต้อง และได้รับอนุมัติแล้วบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ กรณีบริษัททราบว่าคีย์ข้อมูลไม่ถูกต้อง แต่ได้รับอนมัติแล้ว หากบริษัทต้องการจะยกเลิกการสั่งปล่อยดังกล่าว จะต้องแจ้งให้ Shipping ทราบว่าเลขที่หนังสืออนุมัติดังกล่าว จะต้องไม่นำไปเดินพิธีการ และบริษัทจะต้องส่งไฟล์ Birtcan เข้าระบบเพื่อขอยกเลิกก่อนเมื่อไฟล์ Birtcan ได้รับการอนุมัติแล้ว บริษัทจึงจะสามารถทำการส่งไฟล์ Birtimp1 ที่ถูกต้องเข้าระบบใหม่อีกครั้ง
9. บริษัทยื่นคำร้องยกเลิกงานสั่งปล่อยวัตถุดิบแล้ว ระบบแจ้งว่า รอตอบกลับจากศุลกากร แสดงว่าได้รับการอนุมัติแล้วหรือไม่
ตอบ บริษัทต้องรอให้ระบบของกรมศุลกากรตอบกลับและสถานะเปลี่ยนเป็น “อนุมัติ” ก่อน จึงจะถือว่าการขอยกเลิกคำร้องนั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์
10. กรณีบริษัทยื่นไฟล์ Birtcan เข้าระบบ และพบว่าระบบแจ้ง error ว่า project code ไม่ตรงกับในไฟล์หมายถึงอะไร
ตอบ หมายถึงรหัสโครงการที่บริษัทเลือก ไม่ตรงกับรหัสโครงการที่ระบุไว้ในไฟล์ Bictcan โดยสามารถตรวจสอบว่าในไฟล์ Birtcan ช่อง project code คีย์ข้อมูลตรงกันหรือไม่
11. สอบถามขั้นตอนยกเลิกสั่งปล่อยวัตถุดิบ มีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ บริษัททำการเตรียมไฟล์ Birtcan และส่งคำร้องเข้าระบบ IC Online จากนั้นระบบจะส่งค่าไปยังกรมศุลกากร เพื่อสอบถามว่าเลขที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบดังกล่าวได้ถูกนำไปเดินพิธีการหรือไม่ หากยังไม่ได้นำไปเดินพิธีการระบบจะอนุญาตให้ทำการยกเลิกได้อัตโนมัติ
12. กรณีบริษัทยื่นยกเลิกสั่งปล่อยวัตถุดิบ และต้องการตรวจสอบว่าได้รับอนุมัติแล้วหรือไม่นั้น สามารถตรวจสอบผ่านช่องทางใด
ตอบ บริษัทสามารถตรวจสอบสถานะการยกเลิกได้ ผ่านระบบงาน IC Online ==>ตรวจสอบข้อมูลยกเลิก==>ตรวจสอบสถานะ (อนุมัติ/ ไม่อนุมัติ)
13. กรณีคำร้องงานยกเลิกสั่งปล่อยวัตถุดิบ ผลการตรวจสอบไม่อนุมัติ ส่วนใหญ่จะเกิดจากสาเหตุใด
ตอบ สาเหตุกรมศุลกากรไม่อนุมัติให้ยกเลิกได้นั้น เกิดจากกรณีบริษัทได้นำเลขที่หนังสืออนุมัตินั้นได้ไปเดินพิธีการกรมศุลกากรแล้ว
14. กรณีบริษัทได้ทำการสั่งปล่อยวัตถุดิบที่โครงการเดิม ก่อนที่จะมีการรวมบัญชี Max Stock ซึ่งจะเป็นโครงการใหม่ หากบริษัทต้องการยกเลิกสั่งปล่อยวัตถุดิบดังกล่าวบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ กรณีดังกล่าวบริษัทจะต้องทำหนังสือขอปรับยอดแทนการยกเลิกสั่งปล่อยวัตถุดิบ พร้อมแนบหลักฐานการสั่งปล่อยที่เกี่ยวข้องมายังสมาคม ผ่านช่องทางอีเมลสาขาที่ท่านใช้บริการ จากนั้นหาก สำนักงาน BOI พิจารณาอนุมัติ บริษัทจะต้องดำเนินการปรับยอดกับสมาคมต่อไป
15. กรณีเป็นวันหยุดราชการ บริษัทสามารถส่งคำร้องงานสั่งปล่อยวัตถุดิบ (RMTS-2011) ได้หรือไม่
ตอบ ปัจจุบันระบบงานเป็นแบบไร้เอกสาร ระบบแจ้งเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง อัตโนมัติ
16. กรณีบริษัทดำเนินการสั่งปล่อยวัตถุดิบแบบคืนอากร แต่ใบขนสินค้าขาเข้าไม่ได้ลงนาม จะต้องทำอย่างไร
ตอบ กรณีงานสั่งปล่อยวัตถุดิบแบบขอคืนอากร ปัจจุบันเป็นแบบไร้เอกสาร ดังนั้นบริษัทไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ระบบจะพิจารณาอัตโนมัติและส่งข้อมูล ebxml ไปยังกรมศุลกากร
17. บริษัทได้รับอนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบแบบปกติ (ยกเว้นอากร) บริษัทสามารถขอยกเลิกบางรายการที่ได้รับอนุมัติได้หรีอไม่
ตอบ ไม่สามารถขอยกเลิกบางรายการได้ ต้องยกเลิกแบบทั้งคำร้องได้อย่างเดียวเท่านั้น
18. บริษัทต้องการคัดสำเนาหนังสืออนุมัติงานสั่งปล่อยวัตถุดิบ เนื่องจากพนักงานเดิมลาออกจะต้องทำอย่างไร
ตอบ กรณีบริษัทไม่ทราบข้อมูล สามารถทำเรื่องการขอข้อมูลการนำเข้าย้อนหลังเพื่อไปตรวจสอบก่อน จากนั้นจึงทำเรื่องขอคัดสำเนาโดย จัดทำหนังสือขอคัดสำเนา
19. กรณีบริษัททำหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยสูญหายต้องการขอรับรองเอกสารจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรับรองสำเนำ
www.ic.or.th 2. หนังสือแจ้งความเอกสารสูญหาย (ฉบับจริง)
3. หนังสือมอบอำนาจ
20. บริษัทยื่นงานปรับยอดวัตถุดิบผ่านเคาน์เตอร์ให้บริการที่สมาคม บริษัทสามารถตรวจสอบสถานะการอนุมัติได้อย่างไร
ตอบ สามารถตรวจสอบสถานะการอนุมัติได้จากเว็บไซต์สมาคม (
www.ic.or.th) ที่เมนูตรวจสอบงานฐานข้อมูล โดยระบุรหัสโครงการที่ต้องการตรวจสอบ
21. กรณีบริษัทส่งคำร้องสั่งปล่อยเข้าระบบ IC Online ระบบไม่อนุมัติแจ้งว่าชื่อรองไม่ตรงกับฐานข้อมูล กรณีนี้บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ กรณีสั่งปล่อยชื่อวัตถุดิบไม่ตรง ระบบจะสอบถามเพื่อให้บริษัทยืนยันว่าจะต้องการขออนุมัติเพิ่มชื่อรองกับ สกท. กรณีสั่งปล่อยชื่อไม่ตรงหรือไม่ หากบริษัทยืนยันระบบจะส่งคำร้องขออนุมัติเพิ่มชื่อรองเพื่อให้ จนท. BOI พิจารณาภายใน 1 วันทำการ และชื่อรองที่อนุมัติจะเพิ่มในระบบทันที หรือหากบริษัทไม่ประสงค์จะเพิ่มชื่อรองก็ไม่ต้องยืนยันข้อมูลดังกล่าว
22. กรณีบริษัทพบว่าระยะเวลานำเข้าจะสิ้นสุดสิทธิ์แล้ว บริษัทควรจะดำเนินการขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นสุดสิทธ์เท่าไหร่
ตอบ บริษัทควรดำเนินการขอขยายระยะเวลาล่วงหน้าก่อนระยะเวลาสิ้นสุดได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือดำเนินการหลังระยะเวลาสิ้นสุดสิทธิ์จะต้องไม่เกิน 6 เดือน
23. กรณีสิ้นสุดสิทธิ์เกิน 6 เดือนไปแล้ว บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1. ติดต่อสำนักงานเพื่อขอรับสิทธิ์การส่งเสริมเพิ่มเติม
2. ดำเนินการขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบและสูตรการผลิตใหม่กับ สกท.
3. บริษัทจะดำเนินธุรกรรมภายใต้รหัสโครงการใหม่ที่ลงท้ายด้วยอักษร A เช่น เดิมรหัสโครงการ 12345611 เปลี่ยนเป็น 1234561A
4. ขออนุมัติกำหนดระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดใหม่
5. สำหรับรหัสโครงการเดิมบริษัทจะไม่สามารถทำการสั่งปล่อยวัตถุดิบได้ ซึ่งหากยังคงมีปริมาณ วัตถุดิบคงเหลือ (BALANCE) ให้บริษัททำการเคลียร์โดยการตัดบัญชี หรือปรับยอดวัตถุดิบ
24. บริษัทได้ทำการสั่งปล่อย โดยชื่อที่ใช้สั่งปล่อย สกท.อนุมัติในบัญชีเป็นวัสดุจำเป็น จึงขอสอบถามว่ากรณีดังกล่าวบริษัทได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ตอบ กรณีเป็นวัตถุดิบ บริษัทจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นทั้งภาษีอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากเป็นวัสดุจำเป็น บริษัทจะได้ยกเว้นภาษีอากรเท่านั้น
25. งานสั่งปล่อยวัตถุดิบประเภทขอคืนอากร มีกำหนดระยะเวลาในการทำเรื่องขอคืนอากรหรือไม่
ตอบ การสั่งปล่อยวัตถุดิบประเภทขอคืนอากร บริษัทจะต้องขอคืนภายใน 2 ปีนับแต่วันนำเข้า สำหรับกรณีสิ้นสุดสิทธิ์จะต้องขอคืนภายใน 1 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิ์
26. บริษัทยื่นสั่งปล่อยปกติ ประเภทยกเว้นอากร ผ่านระบบ IC Online ระบบแจ้งว่า ปริมาณนำเข้าไม่เพียงพอในการสั่งปล่อย บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ กรณีดังกล่าวหมายถึง ปริมาณนำเข้าคงเหลือ มีน้อยกว่าปริมาณที่บริษัททำการสั่งปล่อยวัตถุดิบ แสดงว่าตัวเลขปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ (Balance) มีปริมาณมาก ซึ่งเกิดจากบริษัทอาจจะนำเข้ามากกว่าส่งออก ดังนั้นบริษัทจะต้องนำใบขนสินค้าขาออกมาทำการตัดบัญชีเพื่อลดยอด Balance ปริมาณนำเข้า หรือทำการปรับยอดกรณีต่างๆตามที่ได้รับอนุมัติ เพื่อให้ปริมาณนำเข้าวัตถุดิบคงเหลือเพิ่มขึ้น
27. บริษัทไม่สามารถสั่งปล่อยวัตถุดิบได้ ระบบแจ้งว่า ปริมาณนำเข้าคงเหลือติดลบ สาเหตุเกิดจากอะไรและ ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ความหมายของคำว่า ปริมาณนำเข้าคงเหลือติดลบ คือ ตัวเลขปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ มีมากกว่า ตัวเลข Max Stock ที่ได้รับอนุมัติ ดังนั้นบริษัทจะต้องนำใบขนสินค้าขาออกมาทำการตัดบัญชีเพื่อ Balance ลดลง
28. กรณีบริษัทยื่นเรื่องกำหนดวันนำเข้าครั้งแรกไม่ถูกต้อง บริษัทประสงค์จะขอแก้ไขวันนำเข้าครั้งแรกจะต้อง ดำเนินการอย่างไรต่อไป
ตอบ บริษัททำหนังสือขอแก้ไขวันนำเข้า โดยแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง สมาคมนำเสนอสำนักงาน BOI พิจารณา หากได้รับอนุมัติ สมาคมจะดำเนินการแก้ไขระยะเวลาในระบบให้กับบริษัทต่อไป
29. กรณีบริษัทต้องการยื่นแก้ไขปริมาณการสั่งปล่อยวัตถุดิบ เนื่องจากพบว่าปริมาณนำเข้าน้อยกว่าที่ยื่นขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบไว้ จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1.ดาวน์โหลดแบบฟอร์มยื่นขอแก้ไขเกี่ยวกับงานสั่งปล่อยวัตถุดิบจาก
www.ic.or.th 2. เลือกหัวข้อแก้ไขปริมาณนำเข้าไม่ถูกต้อง โดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3. ยื่นเอกสารผ่านช่องทางอีเมล ตามสาขาที่ใช้บริการ เมื่อสำนักงาน BOI พิจารณาแล้วบริษัททำการปรับยอดกับสมาคมในลำดับถัดไป
30. กรณีบริษัท ต้องการยื่นแก้ไขนำเข้ากรุ๊ปไม่ถูกต้อง จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1.ดาวน์โหลดแบบฟอร์มยื่นขอแก้ไขเกี่ยวกับงานสั่งปล่อยวัตถุดิบจาก
www.ic.or.th 2. เลือกหัวข้อแก้นำเข้ากรุ๊ปไม่ถูกต้อง โดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3. ยื่นเอกสารผ่านช่องทางอีเมล ตามสาขาที่ใช้บริการ เมื่อสำนักงาน BOI พิจารณาแล้วบริษัททำการปรับยอดกับสมาคมในลำดับถัดไป
31. กรณีบริษัทยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ และสำนักงาน BOI อนุมัติแล้ว บริษัทจะต้องนำบัตรส่งเสริมมาทำการบันทึกระยะเวลากับสมาคมหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องยื่นเอกสารกับสมาคม เนื่องจาก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 สำนักงาน BOI เปิดให้บริการยื่นคำขอขยายระยะเวลาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเจ้าหน้าที่รับคำขอและพิจารณาอนุมัติผ่านระบบ
32. กรณีบริษัทได้รับอนุมัติบัตรส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพทดแทนบัตรส่งเสริมฉบับเดิม ดังนั้นระยะเวลา นำเข้าสำหรับบัตรส่งเสริมฉบับใหม่จะถูกกำหนดอย่างไร
ตอบ การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรกเป็นวันเริ่มต้น-สิ้นสุดการใช้สิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมฉบับเดิม
33. ขั้นตอนการขอขยายระยะเวลา บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
ตอบ 1. ส่งคำร้องขยายระยะเวลาผ่าน
http://rmts.boi.go.th 2. ระบบจะตรวจสอบข้อมูลว่ามีใบขนสินค้าขาออกที่เกิน 1 ปี และบริษัทยังไม่นำมาตัดบัญชีวัตถุดิบหรือไม่
3. กรณีพบว่าไม่มี เจ้าหน้าที่จะพิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาในระบบอัตโนมัติ
4. หากพบว่ามีบริษัทจะต้องยื่นความจำนงคการใช้สิทธิ์ใบขนสินค้าขาออกที่คงค้างเกิน 1 ปี โดย ส่งคำร้องด้วยระบบ IC Online
5. กรณีเจ้าหน้าที่พิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาแล้ว ให้บริษัทนำบัตรส่งเสริมฉบับจริงไปติดต่อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัตรส่งเสริม จึงจะถือว่าการขยายระยะเวลาสมบูรณ์
34. กรณีบริษัทได้รับอนุมัติบัตรส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพทดแทนบัตรเดิมทั้งบัตรส่งเสริม ปัจจุบันบริษัทได้ลงทะเบียนใช้งานรหัสโครงการใหม่กับสมาคมแล้ว สอบถามว่าบริษัทจะสามารถสั่งปล่อยวัตถุดิบที่โครงการเดิมได้หรือไม่
ตอบ กรณีบริษัทได้ทำการลงทะเบียนสำหรับโครงการใหม่กับสมาคมแล้ว นั้น บริษัทจะต้องดำเนินการทำธุรกรรมภายใต้รหัสโครงการใหม่เท่านั้น เนื่องจากโครงการเดิมสมาคมจะทำการระงับสิทธิ์โครงการ
35. กรณีบริษัททำการสั่งปล่อยถอนค้ำประกันแบบไม่เต็มจำนวน บริษัทจะได้รับหนังสืออนุมัติเป็นเอกสารเพื่อนำไปยื่นกับกรมศุลกากรหรือไม่
ตอบ กรณีสั่งปล่อยถอนค้ำไม่เต็มจำนวน ระบบจะสร้างเลขที่หนังสืออนุมัติ 2 ฉบับ คือเลขที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยถอนค้ำประกันไม่เต็มจำนวน และหนังสืออนุมัติเรียกเก็บอากรวัตถุดิบ ซึ่งระบบจะส่งข้อมูล ebxml ไปยังกรมศุลกากร เพื่อให้บริษัททำการเดินพิธีการศุลกากรต่อไป โดยจะไม่ใช่รูปแบบเอกสาร
36. กรณีบริษัทต้องการตรวจสอบระยะเวลาการได้รับสิทธิ์ในระบบ RMTS สามารถตรวจสอบผ่านช่องทางใด
ตอบ ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบได้จาก เมนูรับข้อมูล MML จากระบบ IC Online หรือสอบถามพนักงานสมาคม หน่วยงาน CSU เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลในระบบให้เพิ่มเติมโดยแจ้งรหัสโครงการ (Project Code)
37. บริษัทไม่สามารถสั่งปล่อยวัตถุดิบได้ ระบบแจ้งว่า ปริมาณนำเข้าคงเหลือติดลบ สาเหตุเกิดจากอะไรและ ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ความหมายของคำว่า ปริมาณนำเข้าคงเหลือติดลบ คือ ตัวเลขปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ มีมากกว่า ตัวเลข Max Stock ที่ได้รับอนุมัติ ดังนั้นบริษัทจะต้องนำใบขนสินค้าขาออกมาทำการตัดบัญชีเพื่อ Balance ลดลง