1. สอบถามเกี่ยวกับความหมายและสิทธิประโยชน์ของ ม.30, ม.30/1 , ม.36(1) , ม.36(2)
ตอบ มาตรา 30 หมายถึง ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นในอัตราร้อยละ ที่นามาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจาหน่ายในประเทศ
มาตรา 30/1 หมายถึง ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสาหรับของที่ผู้ได้รับการส่งเสริมนากลับเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 36 (1) หมายถึง ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นามาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก
มาตรา 36 (2) หมายถึง ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสิ่งของที่ผู้ได้รับการส่งเสริมนากลับเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป
2. หลักการกำหนดรหัสโครงการ (Project Code) แต่ละมาตรา เป็นอย่างไร
ตอบ หลักการกำหนดรหัสโครงการ 6 หลักแรก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะกำหนดโดยแยกตามบัตรส่งเสริม หลักที่ 7 คือ มาตรา หลักที่ 8 คือ ประเภทบัญชี ทั้งนี้บริษัทจะต้องเป็นผู้กำหนด โดยมีรายละเอียดตามตัวอย่างดังนี้
มาตรา 30 = 12345632
มาตรา 30/1 = 12345642
มาตรา 36 (1) = 12345613
มาตรา 36(2) =12345623
3. กรณีบริษัทได้รับหนังสือแจ้งรหัสโครงการระบุเป็น E123456 ทั้งนี้บริษัทต้องการใช้สิทธิ์มาตรา 36(1) กรณีดังกล่าวบริษัทจะต้องกำหนดรหัสโครงการเพื่อใช้ในระบบ RMTS อย่างไร
ตอบ กรณีดังกล่าวหมายถึงบริษัทยื่นขอรับการส่งเสริมผ่านระบบ e-Investment ของสำนักงาน BOI ซึ่งจะได้รับรหัสโครงการขึ้นต้นด้วยอักษร E รวมทั้งตัวเลขจะได้ทั้งหมด 7 หลัก ดังนี้การกำหนดรหัสโครงการจะต้องนำอักษร E ไปไว้ในหลักที่ 8 ตัวอย่าง E123456 กำหนดเป็น 1234561E
4. ขอทราบความหมายของ วัตถุดิบ (Raw Material)
ตอบ ของที่ใช้ในการผลิต หรือผสม หรือประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่คงสภาพเดิมเมื่อผ่านกระบวนการแล้วทั้งนี้ ให้หมายรวมถึงของที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ด้วย
5. ขอทราบความหมายของ วัสดุจำเป็น (Essential Material)
ตอบ หมายถึง ของซึ่งจำเป็นต้องใช้และเมื่อใช้แล้วสิ้นเปลืองในการผลิต หรือผสม หรือประกอบเป็นผลิตภัณฑ์หรือผลิตผล เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ คุณภาพและมาตรฐาน ช่วยลดการสูญเสียและเพิ่มผลผลิตสาหรับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลดังกล่าว
6. บัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ในส่วนของชื่อหลักวัตถุดิบ และชื่อรองวัตถุดิบ หมายถึงอะไร
ตอบ 1.ชื่อหลัก หมายถึง ชื่อ common name ของวัตถุดิบ ใช้กำหนดรายการวัตถุดิบและปริมาณที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้า เพื่อขออนุมัติปริมาณสต็อกและขออนุมัติสูตรการผลิต
2. ชื่อรอง หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการสั่งปล่อย ซึ่งตรงตาม Invoice นำเข้าและตามที่สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้า ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติในบัญชีรายการปริมาณสต็อกสูงสุดด้วย
7. สูตรการผลิต ในระบบ RMTS หมายถึงอะไร
ตอบ สูตรการผลิต หมายถึง รายการและปริมาณของวัตถุดิบที่ใช้ประกอบขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ต่อหนึ่งหน่วยการผลิต
8. กรณีเป็นบริษัทใหม่ ได้รับรหัสโครงการและลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบงาน Ic Online แล้วบริษัทจะดำเนินการในระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ต้องเริ่มต้นใช้งานจากเมนูใด
ตอบ เมนูเอกสารประกอบการพิจารณาในระบบงานฐานข้อมูล Online ไม่ว่าจะเป็นกิจการผลิต (Manufacturing) หรือกิจการซื้อมาขายไป (IPO/ITC) ทั้งนี้เอกสารที่ใช้แนบจะแตกต่างตามประเภทกิจการ
9. การแนบเอกสารกรณีเป็นบริษัทรายเดิมที่ใช้งานระบบ RMTS อยู่แล้ว จำเป็นต้องแนบเอกสารประกอบการพิจารณาในระบบงานฐานข้อมูลหรือไม่
ตอบ เมนูดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นบริษัทรายเดิม หรือรายใหม่ จำเป็นจะต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา กรณีเป็นบริษัทรายเดิม สามารถใช้ Master List (MML) บันทึกเป็น PDF แนบประกอบการพิจารณาได้
10. การแนบเอกสารการซื้อเครื่องจักร บริษัทจำเป็นจะต้องแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนตามที่แจ้งให้หน้าจอ Ic Online หรือไม่
ตอบ ไม่จำเป็น ต้องแนบทั้งหมด บริษัทอาจจะแนบอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้เช่น ใบขน /อินวอยซ์ หรือใบเสร็จรับเงิน
11. กรณีบริษัทแนบเอกสารไปแล้วหากพบว่าไม่ถูกต้อง บริษัทสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
ตอบ กรณีที่ยังไม่ผ่านการพิจารณา บริษัทสามารถคลิ๊กเพื่อลบข้อมูลได้
12. ขอทราบขั้นตอนการขอรหัสโครงการงานวัตถุดิบ มาตรา 36 โครงการปกติ หรือโครงการบัตรปรับปรุงประสิทธิภาพ
ตอบ 1.ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรหัสโครงการจาก WebStie สมาคม 2. กรอกรายละเอียดและนำส่งให้สมาคมผ่านช่องทาง อีเมล: cus_service@ic.or.th 3. บริษัทจะได้รับอีเมลตอบกลับภายใน 3 วันทำการ
13. ขอทราบขั้นตอน การยื่นขอรหัสโครงการ กรณีรวม max stock
ตอบ บริษัทนำส่งเอกสารให้กับสมาคมผ่านช่องทางอีเมล ic_bkk@ic.or.th (กทม), ic-chonb@ic.or.th (ชลบุรี), ic-korat@ic.or.th (นครราชสีมา), ic-chmai@ic.or.th (เชียงใหม่), ic-khonkaen@ic.or.th (ขอนแก่น), ic-songk@ic.or.th (สงขลา) หรือยื่นด้วยตนเองหน้าเคาน์เตอร์บริการงานวัตถุดิบ เอกสารประกอบด้วย หนังสือขอรหัสโครงการ, สำเนาบัตรส่งเสริมการลงทุน และ หนังสืออนุมัติรวมบัญชีรายการวัตถุดิบ (รวมสต็อก)
14. กรณีบริษัทได้รับสิทธิและประโยชน์ มาตรา 30 และต้องการยื่นขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบจะสามารถยื่นผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ได้หรือไม่
ตอบ มาตรา 30 บริษัทไม่สามารถยื่นขออนุมัติบัญชีวัตถุดิบผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ได้ บริษัทจะต้องยื่นขอแบบเอกสารกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
15. กรณีบริษัทได้รับสิทธิและประโยชน์ มาตรา 30/1 และต้องการยื่นขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบจะสามารถยื่นผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ได้หรือไม่
ตอบ มาตรา 30/1 บริษัทไม่สามารถยื่นขออนุมัติบัญชีวัตถุดิบผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ได้ บริษัทจะต้องยื่นขออนุมัติแบบเอกสารกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
16. เนื่องจากเป็นผู้รับการส่งเสริมการลงทุนรายใหม่ หากต้องการทราบว่าบริษัทได้รับสิทธิและประโยชน์ อะไรบ้าง จะทราบได้อย่างไร
ตอบ บริษัทสามารถตรวจสอบสิทธิและประโยนช์ได้จากบัตรส่งเสริมที่ได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI
17. การยื่นขออนุมัติบัญชีรายการครั้งแรก, เมนูที่ยื่นข้อมูล
ตอบ บริษัทจะต้องยื่นขออนุมัติบัญชีรายการและปริมาณสต็อกสูงสุด ผ่านระบบ IC Online ข้อมูลประกอบการยื่น คือ 1.ไฟล์สูตรอ้างอิง (ปกติ) 2. ไฟล์สูตรอ้างอิง (Return) ถ้ามี 3.ไฟล์ชื่อรองวัตถุดิบ โดยข้อมูลในไฟล์บริษัทสามารถระบุรายการวัตถุดิบตามที่ต้องการ และไฟล์ชื่อรองให้ระบุชื่อรองตามที่ต้องการนำเข้าหากมีมากกว่า 1 รายการให้คีย์ข้อมูลบรรทัดละ 1 รายการ ข้อมูลช่อง Type ระบุ เป็น A
18. อยากทราบความหมายของข้อมูลช่อง Product name และ Product Code ในไฟล์สูตรอ้างอิง คืออะไร
ตอบ Product name คือ ชื่อผลิตภัณฑ์ ส่วน Product Code คือ ชื่อรุ่นของผลิตภัณฑ์
19. ระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์การยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ในส่วนรายละเอียดการใช้วัตถุดิบ หมายถึงอะไร
ตอบ เอกสารแสดงข้อมูลจำเพาะของรายการวัตถุดิบแต่ละรายการ เช่น ภาพรายการวัตถุดิบ รหัส Group วัตถุดิบ (ตรงตามไฟล์สูตรอ้างอิง) ชื่อรายการวัตุดิบ และคำอธิบาย เป็นต้น หากมีหลายรายการให้รวมเข้าไว้ในไฟล์เดียวกัน
20. Type A ,C, D สำหรับคีย์ข้อมูลงานฐานข้อมูลออนไลน์ในระบบวัตถุดิบ คืออะไร
ตอบ A ย่อมาจาก Add คือ การบันทึกข้อมูลครั้งแรกของรายการนั้น
C ย่อมาจาก Change คือ การแก้ไขข้อมูลที่ผ่านการอนุมัติแล้ว หรือ คงเดิม
D ย่อมาจาก Delete คือ การลบข้อมูลที่ผ่านการอนุมัติแล้ว
21. กรณีบริษัทต้องการทราบ Product Card ของโครงการบริษัทสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างไร
ตอบ Product Card หมายถึงผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้นบริษัทสามารถตรวจสอบได้จากบัตรส่งเสริม หรือตรวจสอบได้จากเมนูเอกสารประกอบการพิจารณาจากระบบ Ic Online โดยกรอกเลขที่รหัสโครงการ ระบบจะแสดงตารางที่มีข้อความผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุน
22. กรณีบริษัทได้รับอนุมัติประเภทกิจการ IPO/ITC บริษัทจะต้องขออนุมัติส่วนสูญเสียวัตถุดิบไว้ด้วยหรือไม่
ตอบ กิจการ IPO/ITC ปริมาณการใช้จะต้องเป็น 1/1 ซึ่งจะไม่มีส่วนสูญเสีย ดังนั้นกิจการดังกล่าว QTY_NET = QTY_GROSS
23. กรณีบริษัทได้รับอนุมัติประเภทกิจการ IPO/ITC และมีรายการวัตถุดิบหลายรายการบริษัทจะต้องทำการคีย์ ในระบบงานฐานข้อมูลอย่างไร
ตอบ กรณีกิจการ IPO/ITC บริษัทจะต้องคีย์ข้อมูลวัตถุดิบ 1 Sheet / 1 กรุ๊ปวัตถุดิบเท่านั้น ดังนั้นกรณีบริษัทมีหลายรายการให้คีย์ข้อมูลได้มากกว่า 1 Sheet ตามจำนวนรายการวัตถุดิบ
24. ชื่อผลิตภัณฑ์ Product name และ Product Code ที่ใช้ในการยื่นสูตรการผลิตในระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ ระบบรองรับมีความยาวสูงสุดเท่าไร
ตอบ ชื่อผลิตภัณฑ์ Product name มีความยาวไม่เกิน 512 ตัวอักษร ส่วนรุ่นผลิตภัณฑ์ Product Code มีความยาว 35 ตัวอักษร
25. การคีย์ข้อมูลไฟล์สูตรอ้างอิง ช่อง QTY_LOSS (ปริมาณส่วนสูญเสียวัตถุดิบ) กรณีที่บริษัทไม่มีส่วนสูญเสีย จะต้องคีย์ข้อมูลอย่างไร
ตอบ บริษัทจะต้องคีย์ข้อมูลเป็นเลขศูนย์เท่านั้น
26. การคีย์ข้อมูลไฟล์สูตรอ้างอิง ช่อง QTY_GROSS (ปริมาณการใช้รวมส่วนสูญเสีย) คำนวณมาจากไหน
ตอบ เป็นการคำนวนมาจาก ช่อง QTY_NET (ปริมาณการใช้วัตถุดิบสุทธิ) + QTY_LOSS (ปริมาณส่วนสูญเสียวัตถุดิบ)
27. การคีย์ข้อมูลไฟล์สูตรอ้างอิง ช่อง Product capacity คืออะไร และมีวิธีการคำนวณอย่างไร
ตอบ หมายถึง กำลังการผลิต 4 เดือน โดยคำนวณ จาก กำลังการผลิต (ตามบัตรส่งเสริม) หาร 12 คูณ 4
28. กรณีบริษัทยื่นคำร้องสูตรการผลิต เมื่อส่งคำร้องระบบแจ้งว่า Formula type จะต้องเป็น product หรือ return หมายถึงอะไร
ตอบ ระบบต้องการให้บริษัทระบุ ในช่อง Formula type (ประเภทของสูตรผลิตภัณฑ์) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ปกติ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ซ่อมแซม
29. กรณีหน่วยของวัตถุดิบ เป็นหน่วยที่นับได้ เช่น C62 , SET จะต้องมีส่วนสูญเสียหรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ จะต้องไม่มีส่วนสูญเสีย และต้องคีย์ข้อมูลในช่อง QTY_LOSS (ปริมาณส่วนสูญเสียวัตถุดิบ) ให้เป็นศูนย์ ไม่สามารถเป็นค่าว่างได้
30. อยากทราบว่าข้อมูลช่อง UOP จะต้องใส่เป็นหน่วยของอะไร
ตอบ ระบุหน่วยที่ใช้สำหรับส่งออกผลิตภัณฑ์ตามที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
31. อยากทราบว่าข้อมูลช่อง UOM จะต้องใส่เป็นหน่วยของอะไร
ตอบ หมายถึง หน่วยวัตถุดิบ สำหรับการนำเข้า เป็นหน่วยย่อที่ใช้ตามรหัสสถิติกรมศุลกากร
32. อยากทราบว่าข้อมูลช่อง tmp_qty ที่ปรากฎในบัญชีรายการวัตถุดิบ (MML) หมายถึงอะไร
ตอบ ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บปริมาณที่ขออนุญาตตัดบัญชีวัตถุดิบโอน Vendor แบบ Non-BOI
33. ชื่อรุ่นผลิตภัณฑ์ (Product Code) สามารถรับความยาวได้กี่ตัวอักษร
ตอบ ชื่อรุ่นผลิตภัณฑ์มีความยาวไม่เกิน 35 ตัวอักษร
34. ชื่อรองวัตถุดิบ หมายถึงอะไร และบริษัทจะต้องนำมาใช้สำหรับดำเนินการเกี่ยวกับอะไร
ตอบ ชื่อรองวัตถุดิบ หมายถึง ชื่อวัตถุดิบที่ตรงกับใบกำกับสินค้า (อินวอยซ์) และเป็นชื่อที่ใช้สำหรับการขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น
35. หากบริษัทต้องการแก้ไขชื่อรองวัตถุดิบ จะสามารถดำเนินการได้กรณีใดบ้าง
ตอบ กรณีเพิ่มชื่อรอง (Type A) กรณีแก้ไขพิกัดศุลกากร (Type C) และกรณีลบชื่อรอง (Type D)
36. กรณีต้องการแก้ไขชื่อรอง บริษัทจะต้องคีย์รายการชื่อรองให้ครบทุกรายการของกรุ๊ปวัตถุดิบนั้นๆ หรือไม่
ตอบ ไม่ต้อง ให้บริษัทคีย์เฉพาะชื่อรองที่ต้องการแก้ไขเท่านั้น
37. ข้อแตกต่างระหว่างการลบรายการวัตถุดิบ และการลบชื่อรองวัตถุดิบ มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ กรณีลบชื่อรายการวัตถุดิบ จะเป็นการลบทั้งรายการ ไม่ว่าจะเป็นชื่อหลักหรือชื่อรอง แต่หากลบชื่อรองวัตถุดิบ ระบบจะลบเฉพาะชื่อรองนั้นๆ
38. กรณี 1 กรุ๊ปวัตถุดิบ บริษัทมีชื่อรองมากกว่า 1 ชื่อจะต้องคีย์ข้อมูลอย่างไร
ตอบ ให้คีย์ข้อมูลชื่อรองบรรทัดละ 1 ชื่อเท่านั้น ไม่สามารถคีย์เครื่องหมาย ( ,หรือ / ) ได้
39. ต้องการเพิ่มชื่อรองของรายการวัตถุดิบเพียง 1 กรุ๊ป ต้องคีย์ข้อมูลอย่างไร
ตอบ คีย์ไฟล์ชื่อรองเฉพาะรายการที่ต้องการเพิ่มเท่านั้น ระบุ TYPE เป็น A
40. การคีย์ข้อมูลไฟล์ชื่อรองวัตถุดิบ ช่อง ESS_ MAT หมายถึงอะไร และมีกี่ประเภท
ตอบ หมายถึงประเภทของวัตถุดิบ ซึ่งจะมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ N หมายถึง วัตถุดิบ Y หมายถึง วัสดุจำเป็น และ R หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งออกไป
41. การคีย์ไฟล์ชื่อรองวัตถุดิบบริษัทสามารถคีย์ได้หลาย Sheet หรือไม่ เนื่องจากรายการชื่อรองมีจำนวนมาก
ตอบ บริษัทสามารถคีย์ไฟล์ข้อมูลได้เพียง 1 Sheet เท่านั้น
42. การคีย์ไฟล์ชื่อรองวัตถุดิบ บริษัทจำเป็นจะต้องคีย์ข้อมูล พิกัดศุลกากรของวัตถุดิบ (TARIFF) หรือไม่และต้องคีย์อย่างไร
ตอบ ในครั้งแรกการคีย์ชื่อรองหากบริษัทยังไม่ทราบ เว้นว่างได้ และสามารถคีย์เพิ่มเติมได้ภายหลัง โดยรูปแบบการคีย์ข้อมูล 9999.99.99
43. บริษัทต้องการแก้ไขชื่อรองของรายการวัตถุดิบเพียง 1 กรุ๊ป โดยเพิ่มพิกัดกรมศุลกากร (Tariff) ต้องคีย์ข้อมูลอย่างไร
ตอบ คีย์ไฟล์ชื่อรองเฉพาะรายการที่ต้องการแก้ไขโดยการเพิ่ม Tariff เท่านั้น ระบุ TYPE เป็น C
เงื่อนไขสำคัญ : ต้องเป็นรายการวัตถุดิบที่ยังไม่มีการบันทึกพิกัดกรมศุลกากรในระบบเท่านั้น
44. การคีย์ไฟล์ข้อมูลชื่อรองวัตถุดิบ ใน 1 รายการ บริษัทสามารถคีย์ประเภทของการบันทึกข้อมูล (TYPE) ได้กี่ประเภท
ตอบ ใน 1 รายการวัตถุดิบสามารถคีย์ได้เพียง 1 ประเภท เท่านั้นโดยเลือก (A = Add, C = Change และ D = Delete)
45. การคีย์ข้อมูลไฟล์สูตรอ้างอิง (Return) ใน 1 สูตรอ้างอิง Return จะมีการใช้วัตถุดิบ ได้กี่รายการ
ตอบ มีรายการวัตถุดิบได้เพียง 1 รายการเท่านั้น
46.กรณีบริษัทมีส่วนสูญเสียวัตถุดิบ ในยื่นสูตรการผลิต มีวิธีการคำนวนอย่างไร
ตอบ ระบบจะคำนวน QTY_NET (ปริมาณการใช้วัตถุดิบสุทธิ) + QTY_LOSS (ปริมาณส่วนสูญเสียวัตถุดิบ) = QTY_GROSS (ปริมาณการใช้รวมส่วนสูญเสีย)
47. การเตรียมไฟล์สูตรการผลิตข้อมูลช่อง QTY_NET หมายถึงอะไร
ตอบ ช่อง QTY_NET หมายถึง ปริมาณการใช้วัตถุดิบสุทธิ
48. หากต้องการแก้ไขสูตรผลิตภัณฑ์ โดยแก้ไขปริมาณการใช้ (Usage) ของรายการวัตถุดิบเพียง 1 กรุ๊ป ต้องคีย์ข้อมูลอย่างไร
ตอบ ให้คีย์รายการวัตถุดิบทุกรายการที่อยู่ในสูตรผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หากต้องการแก้ไข Usage ของกรุ๊ปรายการวัตถุดิบใด ให้คีย์ Usage ใหม่ที่ต้องการของกรุ๊ปรายการวัตถุดิบนั้น
เงื่อนไขสำคัญ: หากผลการพิจารณาเป็นอนุมัติระบบจะบันทึกสูตรผลิตภัณฑ์นี้เป็น Revision ถัดไป
49. การยื่นแก้ไขปริมาณ max stock บริษัทต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ บริษัทจะต้องยื่นขอแก้ไขบัญชีรายการวัตถุดิบ และปริมาณสต็อกสูงสุด ผ่านระบบ IC Online ข้อมูลประกอบการยื่น คือ 1.ไฟล์สูตรอ้างอิง (ปกติ) 2. ไฟล์สูตรอ้างอิง (Return) ถ้ามี 3.ไฟล์ชื่อรองวัตถุดิบ โดยข้อมูลในไฟล์จะต้องอ้างอิงให้ครบทุกกรุ๊ปตามบัญชีรายการ (MML) และไฟล์ชื่อรองให้อ้างอิงชื่อรองตามที่ได้รับอนุมัติมากรุ๊ปละ 1 รายการ ข้อมูลช่อง Type ระบุ เป็น C
50. กรณีบริษัท ต้องการแก้ไข MAX STOCK โดยเพิ่มรายการวัตถุดิบกรุ๊ปใหม่ จะต้องเตรียมไฟล์ข้อมูลอย่างไรสำหรับการยื่นงานฐานข้อมูลออนไลน์
ตอบ บริษัทจะต้องยื่นขอแก้ไขบัญชีรายการและปริมาณสต็อกสูงสุด ผ่านระบบ IC Online ข้อมูลประกอบการยื่น คือ 1.ไฟล์สูตรอ้างอิง (ปกติ) 2. ไฟล์สูตรอ้างอิง (Return) ถ้ามี 3.ไฟล์ชื่อรองวัตถุดิบ โดยข้อมูลในไฟล์จะต้องอ้างอิงให้ครบทุกกรุ๊ปตามบัญชีรายการ (MML) พร้อม ข้อมูลกรุ๊ปวัตถุดิบใหม่ และไฟล์ชื่อรองให้อ้างอิงชื่อรองตามที่ได้รับอนุมัติมากรุ๊ปละ 1 รายการ (สำหรับกกรุ๊ปวัตถุดิบเดิม) ข้อมูลช่อง Type ระบุเป็น C และ สำหรับรายการวัตถุดิบใหม่ ไฟล์ชื่อรองให้ระบุชื่อรองตามที่ต้องการนำเข้าหากมีมากกว่า 1 รายการให้คีย์ข้อมูลบรรทัดละ 1 รายการ ข้อมูลช่อง Type ระบุ เป็น A
51. กรณีบริษัทต้องการยกเลิกรายการวัตถุดิบ รายการที่บริษัททำการยกเลิกจะหายไปจาก Master List (MML) หรือไม่
ตอบ รายการวัตถุดิบที่ถูกยกเลิก จะยังโชว์ใน Master List แต่จะเปลี่ยนสถานะเป็น Inactive
52. เงื่อนไขของการยื่นขอยกเลิกรายการวัตถุดิบ ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ รายการวัตถุดิบที่บริษัทต้องการยกเลิก จะต้องไม่มีปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ Balance และเป็นรายการที่ยังไม่ถูกสั่งปล่อย หรือหากมีการสั่งปล่อยวัตถุดิบแล้ว ปริมาณวัตถุดิบคงเหลือจะต้องเป็นศูนย์ เท่านั้น ระบบจึงจะอนุญาตให้ทำการยกเลิกรายการดังกล่าว
53. กรณีบริษัทต้องการยกเลิกรายการวัตถุดิบ จะต้องเตรียมไฟล์ข้อมูลอย่างไร
ตอบ ไฟล์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 2 ไฟล์ ได้แก่ ไฟล์สูตรอ้างอิง ซึ่งจะต้องคีย์ข้อมูลทุกรายการที่เคยได้รับอนุมัติ และไฟล์ชื่อรอง ที่มีทุกรายการ และแก้ไขข้อมูลช่อง Type รายการที่ไม่ได้ยกเลิกให้ระบุ Type C สำหรับรายการใดที่ต้องการยกเลิกให้ระบุ Type เป็น D
54. การขออนุญาตส่งออกวัตถุดิบไปต่างประเทศบริษัทสามารถยื่นขอปริมาณที่มากกว่าปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ (Balance) ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ ระบบจะตรวจสอบปริมาณที่ขออนุญาตส่งออก เทียบกับปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ (Balance) ซึ่งจะต้องเท่ากับหรือน้อยกว่าปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ
55. กรณีบริษัทต้องการปรับยอดจากการขออนุญาตส่งออกวัตถุดิบไปต่างประเทศ ในใบขนสินค้าขาออกบริษัทสามารถนำมาตัดบัญชีได้กี่ครั้ง
ตอบ 1 ใบขนสินค้าขาออกบริษัทสามารถตัดบัญชีวัตถุดิบ ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น โดยใช้หลักการเดียวกับการตัดบัญชีวัตถุดิบ
56. กรณีบริษัทต้องการยกเลิก เลขที่หนังสืออนุญาตส่งออกวัตถุไปต่างประเทศ ได้หรือไม่
ตอบ ได้ กรณีที่บริษัทยังไม่ได้ดำเนินการส่งออกโดยเลขที่หนังสืออนุมัติดังกล่าว
57. เอกสารที่ใช้ในการยื่นลงทะเบียนโครงการบัตรปรับปรุงประสิทธิภาพ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ เอกสารประกอบด้วย 1. จดหมายขอยื่นงานฐานข้อมูล 2.ใบลงทะเบียนใช้บริการด้วยระบบ IC Online 3.หนังสือแจ้งรหัสโครงการ 4. สำเนาใบส่งเสริมทั้งฉบับ
58. กรณีบริษัทได้รับอนุมัติบัตรปรับปรุงประสิทธิภาพ (บางส่วน) บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1. ขอรหัสโครงการสำหรับบัตรปรับปรุง 2.ลงทะเบียนเพื่อขอใช้งานระบบ RMTS 3.บริษัทยื่นขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบ สูตรการผลิตผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์
4.ยื่นกำกำหนดวันนำเข้าเริ่มต้น-สิ้นสุดสทธิ์ ตามระยะเวลาบัตรส่งเสริมเดิม โดยยื่นด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์บริการงานวัตถุดิบหรือส่งอีเมลตามสาขาที่ใช้บริการ
59. บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ประเภทปรับปรุงประสิทธิภาพแล้ว จะต้องดำเนินการอะไรบ้างกับสมาคม
ตอบ 1. ขอรหัสโครงการสำหรับบัตรปรับปรุง 2.ลงทะเบียนเพื่อขอใช้งานระบบ RMTS 3.สมาคมจะทำการตั้งบัญชีวัตถุดิบ และโอนปริมาณวัตถุดิบคงเหลือจากโครงการเดิมไปยังโครงการบัตรปรับปรุงประสิทธิภาพ และกำหนดวันนำเข้าเริ่มต้น-สิ้นสุดสทธิ์ ตามระยะเวลาบัตรส่งเสริมเดิม ให้กับบริษัท
60. กรณีบริษัทได้รับอนุมัติบัตรปรับปรุงประสิทธิภาพ และมีบัญชีรายการวัตถุดิบชื่อหลัก ชื่อรองเรียบร้อยแล้ว บริษัทจะสามารถยื่นขอสูตรการผลิตผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ได้หรือไม่
ตอบ หากบริษัทประสงค์จะของอนุมัติสูตรการผลิตใหม่สามารถยื่นขออนุมัติผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ได้ หรือหากบริษัทประสงค์ขอใช้สูตรการผลิตเดิม สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอโอนสูตรการผลิต ได้โดยนำเอกสารมายื่นได้ด้วยตนเองที่สมาคม หรือส่งผ่านช่องทางอีเมล ตามสาขาที่ใช้บริการได้
61. เอกสารที่ใช้ในการยื่นปรับยอดชำระภาษีอากร ประกอบด้วยเอกสารใดบ้าง
ตอบ เอกสารประกอบด้วย 1. จดหมายขอยื่นงานฐานข้อมูล 2. หนังสืออนุมัติให้ชำระภาษี (ฉบับจริง) 3. หนังสือขอให้เรียกเก็บภาษี (ฉบับจริง) 4. ใบเสร็จรับเงิน (ฉบับจริง+สำเนา) 5.สำเนาใบขนสินค้าขาเข้า 6.ใบประเมินอากรของกรมศุลกากร (ฉบับจริง) และเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
62. กรณีบริษัทจะดำเนินการปรับยอดชำระภาษีอากร แต่ระบุชื่อวัตถุดิบและหน่วยวัตถุดิบในใบขนสินค้าขาเข้าไม่ถูกต้อง จะต้องแก้ไขอย่างไร
ตอบ ติดต่อขอแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้ากับสำนักงานศุลกากร และนำเอกสารหลักฐานแนบพร้อมหนังสือให้ชำระภาษีอากรและหนังสือให้เรียกเก็บภาษีอากร และใบเสร็จตัวจริง ไฟล์ข้อมูล Birtadj ติดต่อสมาคมเพื่อขอปรับยอดชำระภาษีอากร
63. กรณีบริษัทได้รับหนังสืออนุมัติโอน-รับโอนวัตถุดิบ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แล้ว บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป
ตอบ ให้บริษัทดำเนินการประสานงานกับสมาคม ประกอบด้วย 1. แบบฟอร์มขอใช้บริการฐานข้อมูล 2. หนังสืออนุมัติโอน-รับโอนวัตถุดิบ 3.ไฟล์ข้อมูล Birtadj ทั้งนี้ ให้จัดเตรียมเอกสาร และไฟล์ข้อมูล Birtadj 2 ชุด (สำหรับผู้โอน และผู้รับโอน) เงื่อนไขการคีย์ข้อมูล กรณีเป็นผู้โอน ให้คีย์ปริมาณการโอน ค่าติดลบ
กรณีเป็นผู้รับโอน ให้คีย์ปริมาณการรับโอน เป็นค่าบวก
64. การโอน-รับโอนวัตถุดิบ บริษัทจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกี่วันหลังจากได้หนังสืออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ตอบ หนังสืออนุมัติกำหนดไว้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
65. กรณีบริษัทต้องการยื่นปรับยอดเศษซากไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1.ยื่นแบบฟอร์มขอใช้บริการฐานข้อมูล 2. หนังสืออนุมัติให้ตัดบัญชีวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น กรณีเศษซากไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ (ฉบับจริง) 3.ไฟล์ Birtadj ทั้งนี้ เอกสารบริษัทสามารถยื่นได้ด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์ให้บริการงานวัตถุดิบ หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ส่วนไฟล์ Birtadj บริษัทสามารถส่งทางอีเมล์ สาขาที่ใช้บริการ โดยดูได้จากหน้าเว็บไซต์สมาคม (
www.ic.or.th)
66. กรณีบริษัทต้องการยื่นปรับยอด scrap ชำระภาษี จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้างและสามารถยื่นผ่านช่องทางใด
ตอบ เอกสารประกอบด้วย 1. หนังสือให้ชำระภาษีอากรและอนุมัติให้ตัดบัญชีวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น กรณีเศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ (ฉบับจริง) 2. หนังสือขอให้เรียกเก็บภาษีอากรสำหรับเศษซาก 3.ใบเสร็จกรมศุลกากร 4.ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม 5. บันทึกข้อความกรมศุลกากร เรื่อง การขอชำระภาษีอากรสำหรับเศษซากที่นำเข้ามาผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ช่องทางการนำส่งเอกสาร สามารถยื่นได้ด้วยตนเอง ที่เคาน์เตอร์บริการงานวัตถุดิบ หรือจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์
67. กรณีบริษัทต้องการปรับยอดชำระภาษีอากร เพื่อปิดโครงการ 5 หลักจะต้องคีย์ข้อมูลอย่างไร
ตอบ ใช้โครงสร้างไฟล์ Birtadj โดยระบุรหัสโครงการ 5 หลัก ส่วนช่องอื่นๆในไฟล์คีย์ตามรูปแบบการปรับยอดปกติ
68. ขอทราบขั้นตอนการยื่นขออนุญาตส่งออกวัตถุดิบไปต่างประเทศผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์
ตอบ บริษัทสามารถยื่นคำร้องผ่านระบบ IC Online ==> โดยเลือกที่เมนู ยื่นขออนุญาตส่งออกวัตถุดิบไปต่างประเทศ ==> ขออนุญาตส่งออก ==> ค้นหา โดย งวดที่ / เลขที่หนังสืออนุมัติ ==> ค้นหาข้อมูล ==> ติ๊กเลือก รายการที่ต้องการ ==> กดเพิ่มรายการ ==> สามารถแก้ไขปริมาณที่ขอส่งออก ==> กดส่งคำร้องขอส่งออกวัตถุดิบ
69. กรณีบริษัทมีโครงการรวมสต็อก ต้องการยื่นขอเพิ่มชื่อรองในระบบงานฐานข้อมูลได้หรือไม่
ตอบ ปัจจุบันโครงการรวมบัญชีสต็อก ไม่สามารถยื่นผ่านระบบงานฐานข้อมูลได้ บริษัทจะต้องยื่นขออนุมัติชื่อรองแบบเอกสารกับสำนักงาน BOI เมื่อได้หนังสืออนุมัติแล้วให้นำมายื่นกับสมาคม โดยสามารถยื่นเอกสารและไฟล์ข้อมูล Birtdesc ผ่านช่องทางอีเมลตามสำนักงานสาขาที่ใช้บริการ
70. ความหมายของช่อง Balance คงเหลือ หมายถึงอะไร
ตอบ ช่อง Balance หรือช่องปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ หมายถึง ปริมาณวัตถุดิบคงเหลือที่บริษัทจะต้องทำการตัดบัญชี หรือปรับยอดวัตถุดิบ เพื่อให้ตัวเลขในช่องดังกล่าวลดลง
71. กรณีบริษัทต้องการยื่นขออนุมัติสูตรอ้างอิงผ่านทางระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ แต่ระบบแจ้งว่า รหัสโครงการดังกล่าวไม่แสดงในระบบ Ic Online System กรณีดังกล่าวบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ หากบริษัทได้ดำเนินการลงทะเบียนใช้งานระบบกับสมาคมแล้ว และพบปัญหาการใช้งานระบบกรณีดังกล่าวโดยให้บริษัทแจ้งปัญหา ผ่านช่องทางอีเมล
csu@ic.or.th โดยแจ้งรายละเอียดชื่อบริษัท รหัสโครงการ เลขที่บัตรส่งเสริม ปัญหาที่พบระบุรายละเอียดให้ชัดเจน
72. กรณีระยะเวลาสิ้นสุดสิทธิ์เกิน 6 เดือน บริษัทสามารถยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ กรณีสิ้นสุดสิทธิ์เกิน 6 เดือน แล้วบริษัทจะต้องติดต่อสำนักงาน BOI เพื่อขอรับสิทธิ์เพิ่มเติม หากบริษัทมีความประสงค์จะใช้สิทธิ์ตามบัตรส่งเสริมเลขที่ดังกล่าว และเมื่อได้รับอนุมัติบัตรส่งเสริมดังกล่าวแล้ว ให้นำมายื่นกับสมาคม เพื่อขอใช้สิทธิ์เพิ่มเติม ทั้งนี้รหัสโครงการที่บริษัทจะได้รับนั้น หลักที่ 8 จะลงท้ายด้วยอักษร A เช่น 1234567A สำหรับการกำหนดวันนำเข้า บริษัทจะต้องวันที่เริ่มใช้สิทธิ์เป็นวันที่ตามท้ายบัตรส่งเสริมระบุไว้
74. การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรกของโครงการรวมบัตรส่งเสริมการลงทุน จะต้องแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
ตอบ กรณีเป็นโครงการรวมบัตรส่งเสริมการลงทุน บริษัทจะต้องยื่นกำหนดวันนำเข้าครั้งแรกผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ โดยไม่ต้องมีเอกสารประกอบใดๆ
74. การกำหนดวันนำเข้าครั้งแรกของโครงการรวม Max Stock จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ กรณีรวม Max Stock การกำหนดระยะเวลานำเข้าเริ่มต้น-สิ้นสุด จะถูกกำหนดไว้ในหนังสืออนุมัติรวมบัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น โดยสำนักงานเป็นผู้กำหนดให้ ทั้งนี้สมาคมจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลในระบบ RMTS ให้กับบริษัท
75. ขั้นตอนการกำหนดวันนำเข้าครั้งแรกผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์
ตอบ บริษัทจะสามารถยื่นกำหนดวันนำเข้าครั้งแรกผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ โครงการปกติ โครงการรวมบัตรส่งเสริม ทั้งนี้วันที่เริ่มต้น บริษัทสามารถกำหนดได้เองแต่จะต้องไม่ก่อนวันที่อนุมัติโครงการ สำหรับวันที่สิ้นสุดสิทธิ์ ระบบจะกำหนดให้อัตโนมัติตามสิทธิ์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริม สำหรับกรณีที่บริษัทเคยดำเนินการสงวนสิทธิ์การนำเข้า BOI หรือเคยใช้ธนาคารค้ำประกันไว้ จะต้องกำหนดวันที่เริ่มใช้สิทธิ์ให้ครอบคลุมวันดังกล่าว แต่ต้องไม่ก่อนวันที่อนุมัติโครงการเช่นเดียวกัน
76. กรณีบริษัทต้องการยื่นขออนุมัติรวมบัญชีรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น (รวม Max Stock) บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1. ติดต่อสมาคมเพื่อขอข้อมูลบัญชีรายการวัตถุดิบ MML ของแต่ละโครงการที่จะขอรวม Max Stock 2. ติดต่อสำนักงาน BOI ตามสังกัดที่ใช้บริการ เพื่อยื่นขออนุมัติรวมบัญชี Max Stock 3. ติดต่อสมาคมเพื่อขอรหัสโครงการสำหรับโครงการรวม Max Stock และนำมาลงทะเบียนใช้งานระบบ RMTS 4. บริษัทเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมไฟล์ข้อมูล Birtmml และ Birtdesc ให้กับสมาคมผ่านช่องทางอีเมล ตามสาขาที่ใช้บริการ สำหรับการยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตให้บริษัทยื่นผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์
77. กรณีบริษัทมีโครงการรวม Max Stock ซึ่งโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 2 บัตรส่งเสริม โดยบัตร A ระยะเวลาสิ้นสุดสิทธิ์แล้ว และต้องการยื่นขยาย แต่บัตร B ยังไม่สิ้นสุดสิทธิ์ เมื่อยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลากับสำนักงาน BOI ระบบแจ้งไม่สามารถยื่นได้เนื่องจากระยะเวลายังไม่สิ้นสุดสิทธิ์ กรณีดังกล่าวบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ แนะนำให้บริษัทแจ้งปัญหามายังสมาคมเพื่อให้ทำการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว ช่องทางอีเมล
csu@ic.or.th โดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน ชื่อบริษัท รหัสโครงการ เลขที่บัตรส่งเสริม ปัญหาที่พบ
78. กรณีบริษัทต้องการขอยกเลิกบัตรส่งเสริมการลงทุน จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
ตอบ บริษัทจะต้องยื่นขอ MML ล่าสุดกับสมาคม และนำไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ BOI เพื่อแจ้งขอยกเลิกบัตรส่งเสริม กรณีมีปริมาณวัตถุดิบคงเหลือใน MML ของโครงการดังกล่าว สำนักงาน BOI จะยกเลิกบัตรส่งเสริมแบบมีภาระภาษีอากร
79. กรณีบริษัทได้รับหนังสือยกเลิกบัตรส่งเสริมจากสำนักงาน BOI และระบุว่า มีภาระภาษีอากร บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ให้บริษัทนำหนังสือดังกล่าวไปยื่นต่อสำนักงานกรมศุลกากรเพื่อขอชำระภาษีอากร จากนั้นนำหลักฐานมาทำการปรับยอดกับสมาคมต่อไป
80. กรณีบริษัทต้องการตรวจสอบชื่อผลิตภัณฑ์ว่ามีอยู่ในระบบหรือไม่ จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ผู้ใช้บริการสามารถทำเอกสารขอข้อมูลสูตรการผลิตในระบบ RMTS ได้ โดยติดต่อหน่วยงานเคาน์เตอร์เซอร์วิส เพื่อขอข้อมูลดังกล่าว
81. กรณีบริษัทได้รับหนังสือเพิกถอนสิทธิ์ กรณีระยะเวลาสิ้นสุดสิทธิ์เกิน 2 ปีจากสำนักงาน BOI แบบมีภาระภาษี บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ กรณีดังกล่าว หากพบว่ามีภาระภาษีอากร บริษัทจะต้องนำเอกสารและรายละเอียดไปดำเนินการขอชำระภาษีอากรกับกรมศุลกากร หากเรียบร้อยแล้ว ให้บริษัทนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาทำการปรับยอดชำระภาษีอากรกับสมาคมต่อไป
82. กรณีบริษัทได้รับหนังสืออนุมัติส่วนสูญเสีย จากสำนักงาน BOI และพบว่าหน่วยวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติไม่ตรงกับหน่วยวัตถุดิบที่บันทึกในระบบ RMTS กรณีดังกล่าวบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ นำเอกสารดังกล่าว กลับไปแก้ไขที่สำนักงาน BOI ก่อนนำมายื่นขอปรับยอดส่วนสูญเสียกับสมาคมต่อไป
83. การขอรับสิทธิ์ประโยชน์มาตรา 36 เพิ่มเติม กรณีไม่ได้ยื่นขยายเวลานำเข้าภายใน 6 เดือนนับจากระยะเวลานำเข้าเดิมสิ้นสุดลง มีกำหนดหรือไม่ว่าบริษัทจะต้องสามารถยื่นขอภายในกี่ปี
ตอบ ภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิมาตรา 36
84. สำหรับโครงการเดิมหลังจากสิ้นสุดสิทธิ์เกิน 6 เดือน หากพบว่ามีปริมาณวัตถุดิบคงเหลือบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ สำหรับโครงการเดิมบริษัทจะไม่สามารถทำธุรกรรมสั่งปล่อยได้ และจะไม่สามารถโอนยอดปริมาณวัตถุดิบคงเหลือไปยังโครงการที่ขอสิทธิ์เพิ่มเติมได้ ดังนั้นปริมาณวัตถุดิบคงเหลือให้บริษัททำการตัดบัญชีวัตถุดิบหรือปรับยอดกรณีต่างๆเพื่อลดปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ