Search

  • Australia
  • Thursday , Feb 1 , 2018

IC Customer Support (66) 0 2666 9449 (20 คู่สาย) l csu@ic.or.th l กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน 098 553 0447

ข่าวสารจาก BOI

เปิดภารกิจ 5 ด้าน 'BOI' ดันไทยสู่ฮับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

วันพุธ, 12 มิถุนายน 2567 09:27 184

เปิดภารกิจ 5 ด้าน "BOI" ปักหมุนไทยคงฮับอุตสาหกรรมอนาคต มั่นใจปี 2567 ถือเป็นปีพลิกโฉมการลงทุน ลุยสร้าง "Value Chain" อุตสาหกรรมต้นน้ำยันปลายน้ำ ช่วงชิงโอกาสดันไทยเป็นฮับอุตสาหกรรมใหม่หนุนไทยเติบโตยั่งยืน
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า BOI กำหนดแผนการปฏิบัติงานโดยจะเน้นภารกิจ 5 ด้านสำคัญ คือ

1. ดึงการลงทุนเชิงรุกโดยเน้น 5 อุตสาหกรรที่เป็นยุทธศาสตร์หลัก คือ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV), เซมิคอนดักเตอร์ กับสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์, ดิจิทัลขั้นสูง, พลังงานสีเขียว และการทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ

โดย EV ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาการค่อนข้างมากปัจจุบันไทยประสบความสำเร็จ จากการที่รัฐบาลมีมาตรการเชิงรุกต่อเนื่องจากมาตรการ EV3.0 มา EV3.5 ครอบคุมทั้งในส่วนของการส่งเสริมผู้ผลิต แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนสำคัญ สถานีชาร์จ และแอปพลิเคชั่นต่างๆ เป็นต้น

"ปีนี้แบรนด์จีนจะเริ่มผลิตรถชดเชยมาตรการ EV3.0 ที่ 70,000-100,000 คัน ค่ายญี่ปุ่นจะผลิตปีหน้า อีกหัวใจสำคัญคือ แบตเตอรี่ ปัจจุบันไทยผลิตระดับโมดูลและแพ็ค ซึ่งเป้าสำคัญคือระดับเซลล์ที่ยังน้อย โดยภายในปีนี้ จะมีผู้ผลิตรายใหญ่อย่างน้อย 2 ราย ลงทุนผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ กำลังผลิตในเฟสแรกรายละ 6-10 GWh มูลค่าเงินลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาท"

นายนฤตม์ กล่าวว่า เมื่อไทยมีซัพพลายเชน EV ครอบคลุมจะช่วยให้ความเป็น EVฮับ โดดเด่นแข็งแรงระยะยาว ดังนั้น BOI จึงได้สนับสนุนในเรื่องของมอเตอร์ ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ควบคุมการขับขี่ และอินเวอร์เตอร์ เป็นต้น จากการใช้รถ EV ในไทยมีอัตราการใช้สูงสุดในภูมิภาค โดย 4 เดือนแรกปีนี้มียอดจดทะเบียนกว่า 2.6 หมื่นคัน เติบโต 40% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันของปีก่อน มีสัดส่วน 13-15% ของการจดทะเบียนรถยนต์ทั้งหมด
นอกจากนี้ BOI ยังหารือกับผู้ผลิตทั่วโลก ทั้ง อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น จีน อย่างกรณี เทสล่า ก็ยังคงหารืออย่างต่อเนื่อง แม้ช่วงนี้จะอยู่ในช่วงปรับการบริหารภายใน ดังนั้น เมื่อมีโอกาสจะหารือเชิงรุก ซึ่งค่ายใหม่เริ่มเปิดตลาดก่อนที่จะมีการลงทนตามมา ผ่านความร่วมมือกับบริษัทใหญ่ๆ ในไทย อาทิ กลุ่ม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงมองว่า EV จะยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เชื่อว่าว่าไทยจะเป็นฮับในภูมิภาคแน่นอน

ส่วนเซมิคอนดักเตอร์ กับสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นส่วนสำคัญขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยมายาวนาน และจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตในระยะยาว ปัจจุบันยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนส่งออกรวม 40% ของทั้งประเทศ เกิดการจ้างงานเกือบ 2 ล้านคน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเสาหลักของอุตสาหกรรมไทย การจะทำให้เติบโตระยะยาว จึงต้องยกระดับไปสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่

ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้มีวิวัฒนาการและเข้ามาเป็นส่วนประกอบหลักของทุกอุตสาหกรรม อาทิ ออโตเมชั่น เครื่องมือแพทย์ ไปถึงระบบกักเก็บพลังงาน จึงจำเป็นต้องยกระดับ โดยหัวใจสำคัญคือเซมิคอนดักเตอร์ และสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ผ่านมาอิเล็กทรอนิกส์โดดเด่นช่วงกลางน้ำ แต่เป้าหมายวันนี้จะสร้างอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งปีนี้จะเป็นปีพลิกโฉมเกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นต้นน้ำได้จริง

ในส่วนของดิจิทัลขั้นสูง ถือเป็นกิจการสำคัญของดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์เซอร์วิส ที่ผ่านมา BOI ส่งเสริมการลงทุน 18 โครงการ เงินลงทุนเกือบ 8 หมื่นล้านบาท มีบริษัทระดับโลกหลายแห่ง เช่น อเมซอน เว็บ เซอร์วิส (AWS) บริษัทชั้นนำจากอเมริกา อินเดีย สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นต้น โดย AWS ประกาศลงทุนเกือบ 2 แสนล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี เฟสแรกลงทุนแล้ว 2.5 หมื่นล้านบาท โดยจะเปิดให้บริการปีนี้ โดยรัฐบาลกับ BOI จะทำงานอย่างเข้มข้นเพื่อดึงผู้ให้บริการทั้งกูเกิล ไมโครซอฟท์ มาลงทุนเพิ่ม
สำหรับด้านการสนับสนุนพลังงานสีเขียว จากความพร้อมของประเทศไทย นักลงทุนจึงมั่นใจและประกาศการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศมีโอกาสเข้าถึงดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์เซอร์วิสที่มีคุณภาพราคาเหมาะสม ดังนั้น พลังงานสีเขียวทั้ง โซลาร์ วิน ไบโอแมส ไบโอแก๊ส ขยะ ไฮโดรเจน หรือแม้แต่เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับไทย เกิดดีมานด์ในการพัฒนาเทคโนโลยี

สำหรับกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ไทยมีความพร้อมด้านศูนย์กลางดิจิทัล และกำลังตั้งเป้าเป็นไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ การเป็นศูนย์กลางจัดซื้อจัดหาชิ้นส่วนระหว่างประเทศ บริษัทชั้นนำหลายแห่งใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง รวมถึงศูนย์กลางการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ โดยปัจจุบัน BOI ส่งเสริมมากกว่า 400 โครงการ ซึ่งเป้าต่อไปจะดึงบริษัทขนาดใหญ่ที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยและอาเซียนให้มาตั้งศูนย์กลางในไทย ทั้งหมดนี้คือ 5 สาขาหลักที่เน้นการดึงการลงทุน

2. การดึงดูดบุคลากรทักษะสูงจากต่างประเทศ (Talent) เพื่อเข้ามาเสริมทัพให้ไทยมีกำลังรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปัจจุบัน BOI มีศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส พร้อมปรับระบบบริการอย่างมืออาชีพ มาตรการวีซ่าประเภทพิเศษ ทั้งลองเทอมวีซ่ากับสมาร์ทวีซ่า เพื่อดึงดูด Talent เข้ามาโดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะสาขาสำคัญเร่งด่วนคือ ดิจิทัลกับเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึง AI Machine Learning

3. การเชื่อมโยงซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมเป้าหมายระดับโลกโดยเฉพาะ EV และอิเล็กทรอนิกส์ ช่วงที่ผ่านมาได้จัดกิจหรรมใหญ่เพื่อให้ผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปและผู้ผลิตชิ้นส่วนได้เจอกัน อาทิ SUBCON Thailand ส่งเสริมให้ซัพพลายเออร์ไทยสามารถผลิตชิ้นส่วนป้อนให้บริษัทชั้นนำ, การจัดงานแสดงสินค้าและบริการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ THECA โดยเน้นผู้ประกอบการ PCB มาออกงานให้เจอผู้ผลิตชื้นส่วนรายใหญ่เพื่อเจาะรายบริษัทให้เข้มข้นมากขึ้น เป็นต้น

4. อัปเกรดผู้ประกอบการไปสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ที่มีความเป็น Smart and Sustainable ยกระดับเปลี่ยนเครื่องจักรให้มีความทันสมัย ใช้ออโตเมชั่น หุ่นยนต์ ปรับอุปกรณ์ประหยัดพลังงานมาใช้ในกิจการมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้แข่งขันระยะยาว โดยหลังโควิด-19 ผู้ประกอบการตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ จากตัวเลขล่าสุด 3 เดือน มีการยื่นขอมาตรการดังกล่าว 105 โครงการ เพิ่มขึ้น 36% มูลค่าเงินลงทุน 5,700 ล้านบาท

5. การพัฒนาสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจ รวมถึงปัจจัยการลงทุนด้านต่างๆ โดยจะเน้น 4-5 เรื่อง อาทิ การเตรียมพร้อมบุคลากรไปสู่อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งนอกเหนือจากนำเข้าบุคลากรแล้วยังพัฒนาบุคลากรภายในประเทศด้วย มีหลายมาตรการส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการพัฒมาคนมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น จับมือกับจับมือกับกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทำแซนด์บอกซ์สำหรับสาขาดิจิทัลและอิเล็กทรินิกส์ การผลักดัน FTA รวมถึงการยกระดับบริการภาครัฐ เป็นต้น

สำหรับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ไตรมาสแรก ปี 2567 แสดงให้เห็นว่าทิศทางการลงทุนในไทยยังมีแนวโน้มที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้น 94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31%

ข้อมูลจาก : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1127284

ปฏิทินฝึกอบรม

IC Knowledge Management

เลขที่ 1 อาคารทีพีแอนด์ที ชั้น 12 ถนน วิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

(66) 0 2666 9449
< Customer Support Unit: CSU กด 1  อีเมล csu@ic.or.th
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ eMT กด 1 > กด 1 
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ RMTS กด 1 > กด 2 
< ติดตามเอกสารงานเครื่องจักรและวัตถุดิบ กด 2
    - ยื่นรายการวัตถุดิบ, สูตรการผลิต, โอนสูตร, ปรับยอดวัตถุดิบด้วยเอกสาร
    - ขอ username/password ic online, eMT online
    - ขอตัดบัญชีวัตถุดิบ, ยกเลิกการตัดบัญชีวัตถุุดิบ
      สำนักงานกรุงเทพ กด 2 > กด 1 สาขาชลบุรี กด 2 > กด 2 
      สาขานครราชสีมา กด 2 > กด 3 สาขาเชียงใหม่ กด 2 > กด 4
      สาขาขอนแก่น กด 2 > กด 5 สาขาสงขลา กด 2 > กด 6
< บริการสมาชิกและผู้ใช้บริการ กด 3
   - สมัครสมาชิกและผู้ใช้บริการ อีเมล cus_service@ic.or.th
   - บริการฝึกอบรม อีเมล icis@ic.or.th
   - บริการ Counter Service
      - บริการคีย์ข้อมูลเครื่องจักร วัตถุดิบและช่างฝีมือ: counterservice@ic.or.th
      - บริการยื่นไฟล์งานวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
      - บริการขอข้อมูลเครื่องจักรและวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
< ด้านการชำระเงิน กด 4 อีเมล finance@ic.or.th

"มั่นใจเมื่อใช้ IC"

    

 Copyright 2019 Investor Club Association About us All rights reserved.

logo

© 2018 Your Company. All Rights Reserved. Designed By Your Company

Search