บนคลื่นทางเทคโนโลยีและโลกการแข่งขันไร้พรมแดน การเลือกฐานการลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่ใช้ประกอบการตัดสินใจนั้น หลัก ๆ ขึ้นอยู่กับ ตลาดแรงงาน ต้นทุน (ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนภาษี และการได้รับสิทธิพิเศษส่งเสริมการลงทุน) รวมถึงระบบนิเวศทางธุรกิจ (โครงสร้างพื้นฐาน บรรยากาศทางธุรกิจ และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น) เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยก้าวทันต่อโลกอนาคต
ทางบีโอไอจึงปรับแนวทางในการสนับสนุนการลงทุนด้วยมาตรการใหม่แกะกล่อง “Retention & Expansion Program” และ “Relocation Program” ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตและพัฒนาในระยะยาว
Highlight ของทั้ง 2 มาตรการนี้ มีอะไรน่าสนใจบ้าง?
Retention & Expansion Program หรือ มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม สำหรับนักลงทุนรายเดิมที่ลงทุนต่อเนื่อง เป็น 1 ใน 9 มาตรการใหม่ของบีโอไอเพื่อให้บริษัทที่ลงทุนในไทยอยู่เดิมยังคงใช้ไทยเป็นฐานผลิตและขยายการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง
เงื่อนไข :
?เป็นผู้ที่มีโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมอยู่ก่อนแล้ว ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา (ปี 2551 – 2565) ไม่น้อย กว่า 3 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
?ต้องเป็นการลงทุนใหม่ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
?ต้องยื่นคำขอภายในปี 2566
สิทธิและประโยชน์ : ได้รับสิทธิและประโยชน์พื้นฐานตามแต่ละกลุ่มกิจการ + สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้
?กลุ่ม A1+ : ยกเว้นภาษีเงินได้ 10 – 13 ปี + ยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มเติม 3 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 13 ปี
?กลุ่ม A1 และ A2 : ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี + ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% เป็นเวลา 5 ปี
?กลุ่ม A3 A4 และ B : ยกเว้นภาษีเงินได้ 0 – 5 ปี + ยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มเติม 3 ปี
เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 12/2565 เรื่อง มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม https://www.boi.go.th/.../content/12_2565_6398165b07c8b.pdf
Relocation Program หรือ มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการย้ายฐานธุรกิจมาไทย
เป็นอีกมาตรการใหม่ของบีโอไอเพื่อให้เกิดการย้ายฐานธุรกิจมาประเทศไทยแบบครบวงจร ทั้งโรงงานผลิต สำนักงานภูมิภาค (Regional Headquarter) และศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) แบ่งเป็น “โครงการลงทุนที่ยื่นใหม่สำหรับกิจการผลิต” กับ “โครงการลงทุนในกิจการผลิตที่ได้รับส่งเสริมในกลุ่มกิจการ A อยู่ก่อนแล้ว”
โครงการลงทุนที่ยื่นใหม่สำหรับกิจการผลิต
เงื่อนไข :
?ต้องยื่นขอส่งเสริมกิจการผลิต + กิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center: IBC) พร้อมกัน
?ต้องยื่นคำขอภายในปี 2566
โครงการลงทุนในกิจการผลิตที่ได้รับส่งเสริมในกลุ่มกิจการ A อยู่ก่อนแล้ว
เงื่อนไข :
?ต้องยื่นขอส่งเสริมกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center: IBC)
?ต้องยื่นคำขอภายในปี 2566
สิทธิและประโยชน์ : ได้รับสิทธิและประโยชน์พื้นฐานของกิจการผลิต + สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับกิจการผลิต + สิทธิและประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี ดังนี้
?กรณียื่นขอส่งเสริมกิจการผลิต + กิจการ IBC : สิทธิและประโยชน์พื้นฐานของกิจการผลิต + ยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มเติม 3 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี + สิทธิและประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี
?กรณียื่นขอส่งเสริมครบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ กิจการผลิต + กิจการ IBC + ศูนย์วิจัยและพัฒนา : สิทธิและประโยชน์พื้นฐานของกิจการผลิต + ยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มเติม 5 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี + สิทธิและประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี
เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 13/2565 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร https://www.boi.go.th/.../content/13_2565_639816901101b.pdf
บีโอไอให้ความสำคัญกับทั้งผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ไปด้วยกัน
>> มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม (Retention and Expansion Program)
Click Link : https://www.boi.go.th/th/maintain_expand
>> มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร
Click Link : https://www.boi.go.th/th/relocation