สำหรับบทความนี้ จะขอหวนกลับมาที่ความรู้ในเรื่องการจัดทำข้อมูลบัญชีรายการวัตถุดิบเพื่อการขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบกันเพิ่มเติม โดยเป็นที่ทราบกันแล้วว่า ในปัจจุบันการขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบกรณีชื่อวัตถุดิบที่ขอสั่งปล่อยวัตถุดิบ หากไม่ตรงกับบัญชีรายการวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ
บีโอไอ ระบบไม่อนุญาตให้สั่งปล่อยวัตถุดิบนั้นได้ ดังนั้น บริษัทจะต้องทำการขอเพิ่มชื่อรองวัตถุดิบที่จะขอสั่งปล่อยวัตถุดิบให้เรียบร้อยก่อนทำการยื่นขออนุมัติ ซึ่งมีวิธีการขอเพิ่มชื่อรองได้ 2 วิธี ประกอบด้วย
วิธีที่ 1 คือ การขอเพิ่มชื่อรองที่เกิดจากการสั่งปล่อยวัตถุดิบแล้วระบบตรวจสอบพบว่าเป็นชื่อที่ไม่มีในบัญชีรายการวัตถุดิบ หรือ MML บริษัทสามารถขอเพิ่มชื่อรองได้ โดยสามารถคลิกยื่นคำร้องขอพิจารณาชื่อรองได้ภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ยื่นไฟล์ BIRTIMP เข้าระบบ IC Online System หากเกิน 3 วันทำการ จะไม่สามารถคลิกยื่นคำร้องเพื่อขอพิจารณาชื่อรองได้ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของบริษัทว่าต้องการยื่นคำร้องขออนุมัติเพิ่มชื่อรองในคราวเดียวกันหลังจากที่พบว่าสั่งปล่อยวัตถุดิบชื่อไม่ตรงกับ MML หรือไม่
หลังจากที่บริษัทได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อรองวัตถุดิบ ภายใต้การขออนุมัติจากงานสั่งปล่อยวัตถุดิบที่ชื่อไม่ตรงกับ MML จากเจ้าหน้าที่สำนักงาน BOI แล้ว หากต้องการสั่งปล่อยวัตถุดิบชื่อดังกล่าวอีกครั้ง บริษัทจะต้องส่งคำร้องเพื่อ
ขออนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบเข้ามาใหม่
วิธีที่ 2 คือ การขอเพิ่มชื่อรองวัตถุดิบตามขั้นตอนการขออนุมัติผ่านระบบฐานข้อมูลออนไลน์ปกติ ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมของข้อมูลหรือบัญชีรายการวัตถุดิบไว้เพื่อรอการสั่งปล่อยวัตถุดิบ โดยในบทความนี้ จะนำเสนอรายละเอียดวิธีการคีย์ข้อมูลเพื่อยื่นขอแก้ไขชื่อรองวัตถุดิบ ผ่านระบบงานฐานข้อมูลออนไลน์ ดังนี้
1. การขอเพิ่มชื่อรอง หมายถึง การขอเพิ่มชื่อรองวัตถุดิบใหม่ ที่ยังไม่เคยมีในรายการวัตถุดิบนั้นๆ โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขในการคีย์ข้อมูลเพื่อขออนุมัติดังนี้
ข้อควรรู้สำหรับการคีย์ข้อมูลเพื่อขออนุมัติชื่อรอง
1. ใน 1 ไฟล์ชื่อรองวัตถุดิบ สามารถมีข้อมูลได้เพียง 1 Sheet เท่านั้น
2. ใน 1 รายการวัตถุดิบสามารถมีได้เพียง 1 TYPE เท่านั้น (A = Add, C = Chang D = Delete)
3. 1 ชื่อรองมีชื่อหลักได้ชื่อเดียว
4. ชื่อหลักและชื่อรองซ้ำกันได้ แต่ต้องคนละรายการและคนละหน่วย (1 ชื่อรองมีชื่อหลักได้ชื่อเดียว )
5. หน่วยของวัตถุดิบชื่อรองต้องตรงกับหน่วยของวัตถุดิบชื่อหลักและรายการเดียวกัน หน่วยต้องตรงกัน
6. กรณีโครงการเป็นประเภทบัญชีวัตถุดิบ แบบหมุนเวียน ให้ระบุ Stock_Type เป็น Max_Revolving
7. กรณีโครงการเป็นประเภทบัญชีวัตถุดิบ แบบไม่หมุนเวียน ให้ระบุ Stock_Type เป็น Max_Import
8. กรณีโครงการเป็นประเภทบัญชีวัตถุดิบทั้งสองแบบหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนในบัญชีเดียวกัน สามารถระบุ Stock_Type ได้ทั้งสองประเภท
9. ประเภทบัญชีวัตถุดิบของรายการเดียวกัน ต้องมี Stock_Type แบบเดียวกัน
10. กรณีเป็นรายการวัตถุดิบนำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อส่งกลับออกไป Stock_Type ต้องเป็นMax_Revolving
11. ประเภทของวัตถุดิบรายการเดียวกันต้องเป็น N หรือ Y อย่างใดอย่างหนึ่ง กรณีเป็นผลิตภัณฑ์นำกลับเข้ามาซ่อมแซม สถานะของวัตถุดิบต้องเป็นอักษร R เท่านั้น
12. การคีย์ข้อมูลสามารถคีย์ได้ทั้งอักษรพิมพ์เล็ก และอักษรพิมพ์ใหญ่ และห้ามเป็นภาษาไทย
2. การขอแก้ไขชื่อรอง หมายถึง การขอแก้ไขรายละเอียดของชื่อรองที่ได้รับอนุมัติในบัญชีรายการวัตถุดิบแล้ว สิ่งที่สามารถขอแก้ไขได้ ได้แก่
1. ประเภทของวัตถุดิบ : สามารถแก้ไขจาก N (วัตถุดิบ) เป็น Y (วัสดุจำเป็น) หรือจาก Y เป็น N ได้ แต่ในกรณีที่เป็นอักษร R (ผลิตภัณฑ์ที่นำกลับเข้ามาซ่อมแซมเพื่อนำกลับออกไป ) ไม่สามารถแก้ไขเป็น N หรือ Y ได้
2. การแก้ไขพิกัดศุลกากร : ต้องเป็นรายการวัตถุดิบเดิมที่ยังไม่มีพิกัดศุลกากร ส่วนรายการวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติพิกัดศุลกากรไว้แล้วหากต้องการแก้ไข จะต้องขอยกเลิกชื่อเดิมและพิกัดศุลกากรเดิมไปก่อน และทำการขอเพิ่มชื่อและพิกัดศุลกากรใหม่
3. ประเภทบัญชีวัตถุดิบ และหน่วยของวัตถุดิบ จะต้องตรงกับรายการวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว
3. การขอยกเลิกชื่อรอง : ชื่อรองวัตถุดิบที่จะขอยกเลิกได้นั้น จะต้องเป็นชื่อรองที่มีอยู่ในรายการวัตถุดิบมากกว่า 1 ชื่อ และชื่อรองที่ถูกยกเลิกไปแล้ว สามารถขออนุมัติเพิ่มชื่อรองเดิมให้กลับมาใช้ใหม่ได้
โครงสร้างและความหมาย ไฟล์ชื่อรองวัตถุดิบ
ตัวอย่างการคีย์ข้อมูลประเภทต่างๆ
จากตัวอย่างข้างต้น รายการที่ 000001 ช่อง Type หรือประเภทของการบันทึกข้อมูลเป็น “A” หมายถึงการขอเพิ่มรายการใหม่ รายการที่ 000002 Type เป็น C หมายถึงการขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว ตามตัวอย่างคือ การขอบันทึกข้อมูลเพิ่มพิกัดศุลกากร (TARIFF) ส่วนรายการที่ 000004 Type เป็น D หมายถึงการขอยกเลิกหรือลบชื่อรองวัตถุดิบ ซึ่งต้องเป็นชื่อที่ได้รับอนุมัติแล้ว และสามารถขอเพิ่มใหม่ได้หากมีความต้องการที่จะนำเข้าวัตถุดิบนี้อีกครั้ง
ผู้ใช้บริการสามารถติดตามเรื่องราวใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของท่านได้ในครั้งต่อไป และท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์สมาคม www.ic.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงาน CSU : Customer Support Unit โทรศัพท์ 02 666 9449 กด 1 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ตลอดจนสามารถใช้บริการรับคำปรึกษาผ่าน Zoom by CSU ลงทะเบียนได้ที่ https://ic.or.th/images/booking.html
..................................