Search

  • Australia
  • Thursday , Feb 1 , 2018

IC Customer Support (66) 0 2666 9449 (20 คู่สาย) l csu@ic.or.th l กรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน 098 553 0447

ข่าวสารจาก BOI

เอเปคดัน BCG ปั๊ม 7 แสนล้าน บิ๊กธุรกิจจี้รัฐขอตัวช่วย BOI

วันอังคาร, 22 พฤศจิกายน 2565 10:52 713

ผู้นำเอเปค 2022 ประกาศขับเคลื่อน Bangkok Goals on BCG Model ดัน FTAAP ก่อนส่งไม้ต่อสหรัฐเจ้าภาพปี 2023 ด้านสภาที่ปรึกษาเอเปค ชง 69 ข้อถึงผู้นำ ส่วน “บางจาก-ซีพีเอฟ” วอนรัฐกระตุ้นลงทุนผ่านบีโอไอ ขับเคลื่อน BCG นักวิชาการ ชี้ BCG หลังเอเปคปั๊มเศรษฐกิจ 7 แสนล้านบาท

ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’Meeting : AELM) ปี 2022 ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพได้ร่วมกับสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ ขับเคลื่อน Bangkok Goals on BCG Model หรือเป้าหมายกรุงเทพฯภายใต้โมเดลทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว(biocircular-green economy) ใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1) การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการบรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เหลือศูนย์ 2) การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน 3) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน และ 4) การจัดการขยะ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว พร้อมกับตั้งความหวังให้ BCG ถูกนำไปสานต่อในการประชุม APEC ปี 2023 ที่จะมีขึ้นที่สหรัฐต่อไป
จุดพลุ BCG

นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในการประชุมระดับสุดยอดผู้นำเอเปคในวันแรก นายกฯได้นำเสนอแนวคิด เศรษฐกิจ BCG ให้กับเขตเศรษฐกิจ และเน้นว่า จะเป็นแนวทางส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืน การนำความหลากหลายทางชีวภาพ บวกกับเรื่องของการดำเนินเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนและขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งทุกเขตเศรษฐกิจต่างสนับสนุนไทยในการร่วมกันประกาศเอกสารเป้าหมายกรุงเทพฯว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ในวันที่ 19 พ.ย. 2565

ขณะเดียวกันผู้นำเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้พูดคุยถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ซึ่งเห็นตรงกันว่า ปัญหาของรัสเซีย-ยูเครน ได้ส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจของทุกเขตเศรษฐกิจจริง ๆ ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น เศรษฐกิจถดถอย และการขาดแคลนวัตถุดิบ จึงให้น้ำหนักกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังยุคโควิด-19 ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทุกคนต้องมีส่วนร่วมกับกระบวนการฟื้นฟู โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (MSME)

รวมทั้งการพัฒนาดิจิทัล เป็นพื้นฐานการเสริมสร้างการเติบโตที่ทุกคนมีส่วนร่วม ประเด็นสำคัญจะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ และพัฒนาทักษะดิจิทัล และสุดท้ายเรื่องพลังงาน และการทำเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งสนับสนุนความยั่งยืน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาขยะทางทะเล และสนับสนุนให้หาแหล่งเงินทุนสีเขียว (green finance) มามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว
ข้อสรุป 69 ข้อถึงมือผู้นำเอเปค

อีกด้านหนึ่งในเวทีภาคเอกชน ได้มีการจัดการประชุม CEO Summit 2022 คู่ขนานกัน เพื่อระดมความเห็นจากผู้นำภาคเอกชน 600 คน โดยนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจ 2022 ได้หยิบยกประเด็นการเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด ความท้าทายด้านสงคราม วิกฤตความมั่นคงด้านอาหาร วิกฤตพลังงาน ภาวะเงินเฟ้อและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น กระทั่งได้ข้อสรุปข้อเสนอแนะรวม 69 ข้อ ภายใต้เป้าหมายใหญ่ 2 แนวทาง
นั่นคือ “การส่งเสริมการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและยั่งยืน” กับ “การกลับมาสร้างแรงกระตุ้นสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั่วถึง และมีความยืดหยุ่น” ข้อสรุปต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ถูกส่งมอบรายงานฉบับสมบูรณ์แก่ผู้นำเอเปค ในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้เช่นกัน

เอกชนลุย BCG
ด้านภาคเอกชนไทยได้มุ่งขยายการลงทุน BCG ไปแล้ว โดยนายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง และนางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF กล่าวว่า บริษัทมีนโยบายให้ความสำคัญกับแนวทาง BCG เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) ในปี 2050 สอดรับเป้าหมายของรัฐบาลและเป้าหมายของโลก โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิต

โดยในเดือนธันวาคมปีนี้ ซีพีเอฟจะยกเลิกการใช้ถ่านหินในการให้ความร้อนในกระบวนการผลิตทั้งหมด 100% หรือ coal free สำหรับกิจการในประเทศไทย ขณะเดียวกันก็มุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน (renewable) โดยการผลิตไฟฟ้าจากทั้งพลังงานชีวภาพ (ไบโอก๊าซ) พลังงานชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันสามารถผลิตได้ 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด และพยายามขยายการผลิตพลังงานเหล่านี้เพิ่มขึ้น
“ปีนี้การไฟฟ้าโซลาร์คาดว่าจะผลิตได้ 65 เมกะวัตต์ สามารถนำมาใช้ในธุรกิจเราได้ และเรามีเป้าหมายในปี 2025 ต้องให้ได้ 100 เมกะวัตต์ นอกจากนี้อยู่ระหว่างการศึกษานำรถอีวีมาใช้ในกระบวนการผลิต ใช้เทคโนโลยีของไอโอทีในการบันทึกข้อมูลการผลิต เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่วนการใช้พลังงานชีวภาพ (ไบโอก๊าซ) ในฟาร์มไก่ไข่ที่นำมูลสัตว์มาหมักเป็นก๊าซ และนำก๊าซไปผลิตไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้นำร่องในฟาร์มไก่ 8 ฟาร์มแล้ว และในอนาคตจะศึกษาถึงการขยายไปยังฟาร์มหมูในลำดับต่อไป”

นายพีรพงศ์กล่าวว่า รัฐบาลควรวางนโยบายสนับสนุนเอกชนในเรื่องการลงทุนด้าน BCG ในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จากที่เห็นปัจจุบันรัฐให้การสนับสนุนเรื่องการลงทุน BCG ในเรื่องการลงทุนระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ที่จะนำมาใช้แล้ว ซึ่งเอกชนมุ่งหวังให้รัฐประกาศนโยบายเรื่องนี้ให้ชัดเจน และเห็นผลระยะยาว เช่น เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ถ้าเอกชนจะผลิตไฟเพื่อขายให้รัฐยังไม่สามารถทำได้ หรือการให้ระหว่างเอกชนกันเอง

เช่น ผมมีโรงงาน 2 โรงงานติดกัน ผลิตไฟจากโรงงานนี้แล้วจะไปอีกโรงงานหนึ่งยังทำไม่ได้ รัฐควรเปิดกว้างเรื่องนโยบายพลังงานหรือเทคโนโลยีใหม่ เช่น กรีนไฮโดรเจน ทั้งเยอรมนีและญี่ปุ่นกำลังพัฒนาใช้ไฮโดรเจนเพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นเกรย์ไฮโดรเจนจากกระบวนการกลั่น ยังไม่ถือเป็นกรีน เรายังไม่ถึงขั้นเป็นกรีนไฮโดรเจน ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลายประเทศกำลังศึกษา และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพลังงานสะอาดมีความก้าวหน้าไปเร็วมาก ทางซีพีเอฟก็พยายามติดตามเรื่องนี้เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการผลิต

ขณะที่นางกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า BCG เป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจของเรา โดยมีไฮไลต์เรื่องไบโอ เราเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนมาตั้งแต่อดีต ไบโอดีเซล เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และในตอนนี้แผนการดำเนินงานและการลงทุนของบางจากกำลังยกระดับในเรื่อง BCG โดยปีหน้าบางจากจะผลิตไบโอดีเซลสำหรับเครื่องบินที่ทำมาจากน้ำมันใช้แล้วที่ซื้อจากครัวเรือน หรือ (sustainable aviation fuel : SAF) กำลังจะเริ่มก่อสร้างหน่วยผลิตในบางจาก ประมาณ 15-20 เดือนจะเสร็จสมบูรณ์

ในส่วนของบริษัทในเครือ เช่น BBGI กำลังวางแผนสร้างโรงงาน CDMO ในพื้นที่อีอีซี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากชีววิทยาสังเคราะห์ synbio ซึ่งจะเป็นรายแรกในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำในโรงงานกลั่นการรีไซเคิลน้ำ แก้วเพาะกล้าจากอินทนิลแทนถุงดำให้กับกรมป่าไม้
ส่วนของ green economy เช่น แพลตฟอร์มให้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แผนขยายต้นปีหน้าจะเห็น 1,000 คัน และปลายปีเพิ่มเป็น 5,500 คัน หรือธุรกิจไฟฟ้าของ BCPG ก็มีการขยายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และขยายไปสู่การผลิตแบตเตอรี่ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) ในปี 2030 และเน็ตซีโร่ในปี 2050

“เท่าที่หารือกับพาร์ตเนอร์เอเปครอบนี้ ทุกคนตื่นตัวเรื่อง BCG Economy สูง แต่อาจจะยังไม่ได้รวมตัวกัน วันนี้เอเปคให้ความสำคัญก็จะยิ่งเสริมเรื่องนี้มากขึ้น ซึ่งวันนี้ทุกคนทำเรื่องเน็ตซีโร่ สิ่งที่จะเกิดคือ เรื่องการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสีเขียว ต้องใช้ต้นทุน และกฎระเบียบภาครัฐต้องใช้เวลา ซึ่งหลายเทคโนโลยีที่มองอยู่ เช่น ไฮโดรเจน การกักเก็บคาร์บอนหรือ carbon capture storage (CCS) หรือการกักเก็บคาร์บอนแล้วนำมาใช้ (CCUS) แน่นอนว่าจะต้องใช้เงินลงทุนเยอะ

หากรัฐมีมาตรการสนับสนุนสิทธิประโยชน์บีโอไอ ในการลดหย่อนภาษี หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในการลงทุน ซึ่งตอนนี้มีการให้ในส่วนของปิโตรเคมียังมาไม่ถึงโรงกลั่น และควรขยายไปในพื้นที่ในและนอกอีอีซีด้วย หากมีการปรับขยายส่วนนี้ก็จะสนับสนุนให้เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดได้เร็วขึ้น หรือการขายคาร์บอนเครดิตที่เรามีการตั้งคาร์บอนมาร์เก็ตคลับมากระตุ้นความคึกคักคาร์บอนในตลาดมากขึ้น หากรัฐมีนโยบายที่ชัดเจนแน่นอนเรื่องภาษีคาร์บอนก็จะมีส่วนช่วยให้ไปสู่นโยบายสีเขียวได้เร็วขึ้น”

APEC-BCG ปลุกเศรษฐกิจ 7 แสนล้าน
ล่าสุด รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การประชุม APEC จะช่วยกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในส่วนของธุรกิจ MICE มูลค่า 7,527.11 ล้านบาท หรือ 0.05% โดยเป็นงบประมาณในการจัด 3,000 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมประชุม 1,000-1,500 คน ประกอบด้วย ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจ ผู้ติดตามผู้นำประเทศ 100 คน นักธุรกิจ 300 คน ผู้สื่อข่าวประเทศ 100 คน และองค์กรหรือสถาบันอื่น ๆ โดยมีค่าใช้จ่ายคนละ 10,000 บาท/คน/วัน

ขณะที่หากมีการกระตุ้น BCG หลัง APEC ช่วยให้เกิดการลงทุน 6.4 แสนล้านบาท จากการปรับอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ BCG จะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มรายได้จากการขาย carbon credit เช่น ยางพาราไทย ขายเครดิตได้มูลค่า 25,000 ล้านบาท (262 บาท/ตันคาร์บอน x 4.2 ตันคาร์บอนต่อไร่ x 22 ล้านไร่) ซึ่งหากรวมสินค้าเกษตรอื่นๆ จะทำให้ประเทศไทยมีรายได้มากกว่า 1 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจหลักคือ เกษตร อุตสาหกรรม และบริการ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG โดยอุตสาหกรรมหลักที่ต้องกำหนดให้เป็น “อันดับแรก (priority)” คือ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เช่นถุงมือยางธรรมชาติน้ำมันปาล์ม

“รัฐควรตั้งกองทุน BCG (BCG Fund) เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับตัวเข้าสู่ BCG และให้สถาบันการเงินพิจารณาการผลิตภาคเอกชนตามแนวคิด BCG จะได้ดอกเบี้ยพิเศษ และวงเงินที่สูงกว่ากรณีปกติ สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน กำหนดสิทธิประโยชน์ยกเว้นหรือเสียภาษีนิติบุคคลในอัตราพิเศษ demand driven กำหนดให้หน่วยงานรัฐ เป็นผู้ซื้อหลัก และจูงใจให้ประชาชนซื้อด้วยราคาพิเศษ”

รมต.การค้าเอเปค-ทวิภาคีไทย
ก่อนหน้าที่เวทีผู้นำจะเริ่มขึ้นได้มีการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ประจําปี 2022 (APEC Ministerial Meeting 2022 : AMM) ระหว่าง 16-18 พ.ย. 2565 ซึ่งฝ่ายไทยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงพาณิชย์ และ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน เดินหน้าตามแนวคิด Open-Connect-Balance เห็นชอบ 6 ประเด็น คือ

1.การเปิดกว้างทางด้านการค้า การลงทุน เพื่อให้ห่วงโซ่อุปทาน

2.ขับเคลื่อนความร่วมมือเศรษฐกิจเอเปคไปสู่การจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) ซึ่งเป็นความตกลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จากที่ได้เตรียมแผนงาน FTAAP 4 ปี ระหว่างปี 2566-2569

3.สนับสนุนการค้าในระบบพหุภาคีที่องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นศูนย์กลาง และเร่งหาข้อสรุปในประเด็นที่ค้างคาใน WTO ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

4.การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านบริการของกลุ่มสมาชิกเอเปค

5.การผลักดันและเปิดโอกาสให้สตรี ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (ไมโครเอสเอ็มอี) กลุ่มเปราะบาง เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy

6.การสนับสนุนแนวคิดการสร้างความสมดุล การค้าสู่ความยั่งยืน ทั้งทางด้านสินค้าและบริการ

พร้อมกันนี้ ในระหว่างการประชุมเอเปค ไทยมีกำหนดหารือทวิภาคีกับคู่ค้าหลายประเทศ อาทิ ไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้ลงนามประกาศใช้แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น 5 ปี ญี่ปุ่นจะพิจารณาใช้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน ด้านการค้าเตรียมพร้อมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 50 ปี ระหว่างญี่ปุ่นกับอาเซียน

พร้อมทั้งสนับสนุนกรอบความร่วมมือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) และญี่ปุ่นจะขยายโควตาส่งออกกล้วยไทยตามกรอบ JTEPA เพิ่มอีกปีละ 5,000 ตัน เป็น 8,000 ตัน และทวิภาคีไทย-สหรัฐ ซึ่งนายจุรินทร์ได้หารือกับนางแคทเธอรีน ไท ผู้แทนการค้าสหรัฐ

นอกจากนี้ ไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับออสเตรเลีย (SECA) เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างกัน

ข้อมูลจาก : https://www.prachachat.net/economy/news-1123484 

ปฏิทินฝึกอบรม

IC Knowledge Management

เลขที่ 1 อาคารทีพีแอนด์ที ชั้น 12 ถนน วิภาวดีรังสิต
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

(66) 0 2666 9449
< Customer Support Unit: CSU กด 1  อีเมล csu@ic.or.th
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ eMT กด 1 > กด 1 
    - ให้คำปรึกษาด้านการใช้งานระบบ RMTS กด 1 > กด 2 
< ติดตามเอกสารงานเครื่องจักรและวัตถุดิบ กด 2
    - ยื่นรายการวัตถุดิบ, สูตรการผลิต, โอนสูตร, ปรับยอดวัตถุดิบด้วยเอกสาร
    - ขอ username/password ic online, eMT online
    - ขอตัดบัญชีวัตถุดิบ, ยกเลิกการตัดบัญชีวัตถุุดิบ
      สำนักงานกรุงเทพ กด 2 > กด 1 สาขาชลบุรี กด 2 > กด 2 
      สาขานครราชสีมา กด 2 > กด 3 สาขาเชียงใหม่ กด 2 > กด 4
      สาขาขอนแก่น กด 2 > กด 5 สาขาสงขลา กด 2 > กด 6
< บริการสมาชิกและผู้ใช้บริการ กด 3
   - สมัครสมาชิกและผู้ใช้บริการ อีเมล cus_service@ic.or.th
   - บริการฝึกอบรม อีเมล icis@ic.or.th
   - บริการ Counter Service
      - บริการคีย์ข้อมูลเครื่องจักร วัตถุดิบและช่างฝีมือ: counterservice@ic.or.th
      - บริการยื่นไฟล์งานวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
      - บริการขอข้อมูลเครื่องจักรและวัตถุดิบ: bis_center@ic.or.th
< ด้านการชำระเงิน กด 4 อีเมล finance@ic.or.th

"มั่นใจเมื่อใช้ IC"

    

 Copyright 2019 Investor Club Association About us All rights reserved.

logo

EasyCookieInfo

☰ open
© 2018 Your Company. All Rights Reserved. Designed By Your Company

Search