Print
Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

 

บอร์ดบีโอไอไฟเขียวเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในภูมิภาค 3 แห่ง

พร้อมอนุมัติหลักการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี

บอร์ดบีโอไอเห็นชอบให้อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 3 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา เป็นเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอนุมัติในหลักการให้การส่งเสริมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) พร้อมอนุมัติส่งเสริมโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า PHEV ค่ายมิตซูบิชิ
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่าเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการดาเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคให้เป็นแหล่งรองรับและเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซีไอ คณะกรรมการจึงเห็นชอบให้กาหนดพื้นที่ เขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติมอีก 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) และอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา)
สาหรับกิจการใดที่เป็นกิจการเป้าหมายในพื้นที่อีอีซีไอ แต่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ ก็สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ได้ โดยจะต้องยื่นขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการอีอีซี ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2562 และย้ายไปตั้งอยู่ในเขตอีอีซีไอ ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2565 ซึ่งนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามหลักเกณฑ์พื้นฐานของแต่ละประเภทแล้ว ยังจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 ถึง 4 ปี และบางกิจการจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี เพิ่มเติมอีกด้วย
กิจการเป้าหมายที่สามารถขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมดังกล่าวได้ เช่น กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) บริการออกแบบทางวิศวกรรม บริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ บริการสอบเทียบมาตรฐาน สถานฝึกฝนวิชาชีพ กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย เป็นต้น
นางสาวดวงใจ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ดังนั้น การกาหนดพื้นที่เพิ่มเติมในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยทาให้นักลงทุนมีทางเลือกเพิ่มเติม ยังจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในภูมิภาคมีโอกาสในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาได้ง่ายขึ้น สามารถเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ได้สะดวกขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลให้สามารถสร้างรายได้ที่สูงขึ้นได้ต่อไปในอนาคต”

รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ 






 

FaLang translation system by Faboba